ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะคำ : ประพันธ์ ร้อยแก้ว
ที่มาของเรื่อง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวทรง
พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.2428 เพื่อพระราชทานแก่ พระเจ้าลูกยาเธอ
4 พระองค์ เมื่อเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศครั้งทรง
พระเยาว์ คือ
1) กรมพระยาจันทบุรีนฤนาถ (พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์)
> ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
> ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์
> ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี
> ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติยากร
2) กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์)
> ทรงวางรากฐานกฎหมายไทยให้ทักเทียมอารยประเทศ
> ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
> ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
> ได้รับยกย่องว่าทรงเป็น พระบิดาของวงการกฎหมายไทย
> ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน
3) กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม)
> ทรงเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรังเศส
> ทรงดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
> ทรงเป็นต้นราชสกุล ประวิตร
4) กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช)
> ทรงวางรากฐานของกองทัพบกไทย
> ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
> ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
> ทรงเป็นต้นราชสกุล จิรประวัติ
แนวคิด : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงเล็งเห็นว่า“การศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ” พระองค์จึงทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขา สั่งสอนพระโอรสทุกพระองค์ไม่ให้ถือตัวว่าเป็นเจ้า ใช้จ่ายอย่างประหยัด ขยันหมั่นเพียรศึกษา หาความรู้ ไม่หลงตัวว่าเป็นนักเรียนนอก ไม่ลืมภาษาไทยและความเป็นไทย เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศและถ่ายทอดความรู้นั้นเป็นภาษาไทยให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด แก่ประเทศชาติสืบต่อไป
เนื้อหา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานข้อคิด คำแนะนำ สั่งสอน ให้พระราชโอรสประพฤติปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ดังนี้
๑. การไปเรียนในครั้งนี้ให้ตั้งใจไปเพื่อศึกษาวิชาความรู้อย่างเดียว ไม่ควรไปเปิดเผยหรืเผยแพร่เกียรติยศชื่อเสียง ไม่ควรประกาศตนว่าเป็นเจ้า เพราะการไว้ยศนั้นทำให้วางตนลำบาก จะต้องรักษายศศักดิ์ จึงควรประพฤติตนเยี่ยงสามัญชนทั่วไป
๒. เงินที่ใช้สอยในการศึกษาเล่าเรียน เป็นเงินพระคลังข้างที่ ทั้งนี้เพราะว่าพระองค์มีพระราชโอรสมาก จึงทรงเห็นว่าการใช้เงินแผ่นดินในการส่งพระราชโอรสไปศึกษาเล่าเรียนจึงทำให้พ้นจากคำครหาทั้งปวงได้
๓. ขอให้ตระหนักว่า ถึงจะเกิดมาเป็นลูกของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ก็มิใช่ว่าจะฝักใฝ่แต่ความสบายอย่าง จึงขอให้มีความอุตสาหะใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียน
๔. อย่าคิดว่าตนเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน มีอำนาจยิ่งใหญ่ จะมาทำเกะกะระรานไม่เกรงกลัวผู้ใดไม่ได้ พระองค์ทรงปรารถนาให้พระราชโอรสมีความอ่อนน้อม ว่านอนสอนง่าย ให้ประพฤติให้ดีอยู่เสมอ ถ้าทำผิดจะถูกลงโทษทันที
๕. เงินทองที่ใช้สอย ขอให้จงประหยัดเขม็ดแขม่ อย่าทำใจโตใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ถ้าใครเป็นหนี้กลับมา พระองค์จะไม่ยอมใช้ให้ หากจะใช้ให้ก็จะต้องได้รับการลงโทษเป็นประกันมั่นใจก่อนว่าจะไม่กลับไปทำอีก
๖. วิชาที่ออกไปศึกษาเล่าเรียน ต้องเรียนภาษาให้ได้สองในสาม จากภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมัน ที่สำคัญต้องไม่ลืมภาษาไทย
๗. การเล่าเรียนทั้งปวงของพระราชโอรส พระองค์ได้ทรงมอบธุระสิทธิ์ขาดให้แก่ กรมหมื่นเทวะวงษ์โรปการ และมีราชทูตเป็นธุระดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ามีปัญหาหรือต้องการปรึกษาอันใดให้สอบถามได้
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑. ใช้เทศนาโวหารด้วยสำนวนภาษาง่ายๆ ตรงไปตรงมา เช่น
๑. ใช้เทศนาโวหารด้วยสำนวนภาษาง่ายๆ ตรงไปตรงมา เช่น
ขอจดหมายคำสั่งตามความประสงค์ให้แก่ลูก บรรดาซึ่งจะให้ออกไปเรียนหนังสือในประเทศยุโรป
จงประพฤติตามโอวาทที่จะกล่าวต่อไปนี้
...การซึ่งจะให้ออกไปเรียนหนังสือครั้งนี้ มีความประสงค์มุ่งหมายแต่จะให้ได้วิชาความรู้อย่างเดียว ไม่มั่นหมายจะให้เป็นเกียรติยศชื่อเสียง...
- จะทรงโน้มน้าวใจโดยทรงชี้ให้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสียเปรียบเทียบกัน เช่น
...การซึ่งจะให้ออกไปเรียนหนังสือครั้งนี้ มีความประสงค์มุ่งหมายแต่จะให้ได้วิชาความรู้อย่างเดียว ไม่มั่นหมายจะให้เป็นเกียรติยศชื่อเสียง...
- จะทรงโน้มน้าวใจโดยทรงชี้ให้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสียเปรียบเทียบกัน เช่น
ถ้าเป็นเจ้านายแล้ว ต้องรักษายศศักดิ์ในกิจการทั้งปวงที่จะทำทุกอย่าง เป็นเครื่องล่อตาล่อหูคนทั้งปวงที่จะพอใจดูพอใจฟัง จะทำอันใดก็แพลกว่าคนสามัญ เพราะเขาถือว่ามั่งมี เป็นการเปลืองทรัพย์ในที่ไม่ควรจะเปลือง เพราะเหตุว่าถึงจะเป็นเจ้าก็ดีเป็นไพร่ก็ดี เมื่ออยู่ในประเทศมิใช่บ้านเมืองของตัวก็ไม่มีอำนาจที่จะทำฤทธิ์เดชอันใดไปผิดกับคนสามัญได้ จะมีประโยชน์อยู่นิดหนึ่งแต่เพียงเข้าที่ประชุมสูงๆได้ แต่ถ้าเป็นลูกผู้มีตระกูลก็จะเข้าที่ประชุมสูงๆได้เท่ากันกับเป็นเจ้านั่นเอง
- การเปรียบเทียบความประพฤติของคนที่อยู่นิ่งๆโดยไม่ทำการสิ่งใด เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ฟังเกิดแรงบันดาลใจ มีมานะที่จะหมั่นศึกษาหาความรู้ เช่น
- การเปรียบเทียบความประพฤติของคนที่อยู่นิ่งๆโดยไม่ทำการสิ่งใด เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ฟังเกิดแรงบันดาลใจ มีมานะที่จะหมั่นศึกษาหาความรู้ เช่น
ถ้าจะถือว้าเกิดมาเป็นเจ้านายแล้วนิ่งๆอยู่จนตลอดชีวิตก็สบายดังนั้นจะไม่ผิดอันใดกับสัตว์ดิรัจฉานอย่างเลวนัก
- การใช้ภาพพจน์ เปรียบเทียบให้เกิดจินตนภาพ เช่น
- การใช้ภาพพจน์ เปรียบเทียบให้เกิดจินตนภาพ เช่น
ชีวิตสังขารของมนุษย์ไม่ยั่งยืนยืดยาวเหมือนเหล็กเหมือนศิลา ถึงโดยว่าจะมีพ่ออยู่ในขณะหนึ่ง ก็คงจะมีเวลาที่ไม่มีได้ขณะหนึ่งเป็นแน่แท้ ถ้าประพฤติความชั่วเสียแต่ในเวลามีพ่ออยู่แล้ว ความชั่วนั้นควรปรากฏเป็นโทษติดตัวเหมือนเงาตามหลังอยู่ไม่ขาด
คุณค่าด้านสังคม
๑. สะท้อนให้เห็นว่าสมัยแต่เดิมนั้นบุตรของท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ทั้งหลายจะหาช่องทางรับ ราชการยากเพราะเป็นผู้มีวาสนาก็จะต้องแต่งตั้งให้รับตำแหน่งใหญ่โตสมฐานะ แต่ถึงตำแหน่งจะใหญ่โตความรู้ความสามารถก็ยังต้องถึงด้วย ดังคำสอนในพระบรมราโชวาทว่า
เจ้านายจะเป็นผู้ได้ทำราชการ มีชื่อเสียงดีก็อาศัยได้แต่สติปัญญาความรู้และความเพียรของตัว เพราะฉะนั้นจงอุตสาหะเล่าเรียนโดยความเพียรอย่างยิ่ง
๒. สมัยก่อนการให้ความรู้นั้นถือว่ามากกว่าทรัพย์สินเงินทอง เพราะเป็นของติดตัวไม่เสื่อมสูญ ดังคำสอนในพระบรมราโชวาท
การซึ่งให้มีโอกาสและให้ทุนทรัพย์ซึ่งจะได้เล่าเรียนวิชานี้เป็นหลักทรัพย์มรดกอันประเสริฐดีกว่าทรัพย์สินเงินทองอื่นๆ ด้วยเป็นของติดตัวอยู่ได้ไม่มีอันตรายที่จะเสื่อมสูญ เหมือนหนึ่งได้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ลูกเสมอๆ กันทุกคน
๓. สะท้อนให้เห็นว่าฝรั่งแต่ก่อนนั้นมั่งมี มีเงินใช้เยอะๆนั้นมาจากการได้ดอกเบี้ย สมัยก่อนนั้นจึงสอนบุตรไม่ให้อวดมั่งอวดมีทำเทียบเทียมผู้ดีฝรั่ง ให้ใช้เงินอย่างประหยัด มีเงินใช้เฉพาะแต่ที่จะรักษาความสุขของตนพอสมควร ดังคำสอนในพระบรมราโชวาท
ตั้งใจอยู่เสมอว่าตัวเป็นคนจน มีเงินใช้มีเงินใช้เฉพาะแต่ที่จะรักษาความสุขของตนพอสมควรดัง ไม่มั้งมีเหมือนผู้ดีฝรั่งที่เขาสืบตระกูลกันมาได้ด้วยดอกเบี้ย อย่าอวดมั่งอวดมีทำเทียบเทียบเขาให้ฟุ้งซ่านไปเป็นอันขาด
๔. สะท้อนให้เห็นว่าวิชาความรู้ในสมัยก่อนนั้นยังไม่รุ่งเรือง เหมือนสมัยนี้ มาจากการที่ไม่ได้คบค้าสมาคมกับชาติอื่นมาช้านาน ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียน จึงต้องไปเรียนภาษาอื่นเพื่อนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังที่ตรัสไว้ในพระบรมราโชวาทว่า
จงเข้าใจว่าภาษาต่างประเทศนั้นเป็นแต่พื้นของความรู้ เพราะวิชาความรู้ในหนังสือไทยที่มีผู้แต่งไว้นั้นเป็นแต่ของเก่ามีน้อย เนื่องจากมิได้สมาคมกับชาติอื่นมาช้านาน ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียนจึงต้องไปเรียนภาษาอื่น แล้วเอากลับลงมาใช้เป็นภาไทยทั้งสิ้น
๑. สะท้อนให้เห็นว่าสมัยแต่เดิมนั้นบุตรของท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ทั้งหลายจะหาช่องทางรับ ราชการยากเพราะเป็นผู้มีวาสนาก็จะต้องแต่งตั้งให้รับตำแหน่งใหญ่โตสมฐานะ แต่ถึงตำแหน่งจะใหญ่โตความรู้ความสามารถก็ยังต้องถึงด้วย ดังคำสอนในพระบรมราโชวาทว่า
เจ้านายจะเป็นผู้ได้ทำราชการ มีชื่อเสียงดีก็อาศัยได้แต่สติปัญญาความรู้และความเพียรของตัว เพราะฉะนั้นจงอุตสาหะเล่าเรียนโดยความเพียรอย่างยิ่ง
๒. สมัยก่อนการให้ความรู้นั้นถือว่ามากกว่าทรัพย์สินเงินทอง เพราะเป็นของติดตัวไม่เสื่อมสูญ ดังคำสอนในพระบรมราโชวาท
การซึ่งให้มีโอกาสและให้ทุนทรัพย์ซึ่งจะได้เล่าเรียนวิชานี้เป็นหลักทรัพย์มรดกอันประเสริฐดีกว่าทรัพย์สินเงินทองอื่นๆ ด้วยเป็นของติดตัวอยู่ได้ไม่มีอันตรายที่จะเสื่อมสูญ เหมือนหนึ่งได้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ลูกเสมอๆ กันทุกคน
๓. สะท้อนให้เห็นว่าฝรั่งแต่ก่อนนั้นมั่งมี มีเงินใช้เยอะๆนั้นมาจากการได้ดอกเบี้ย สมัยก่อนนั้นจึงสอนบุตรไม่ให้อวดมั่งอวดมีทำเทียบเทียมผู้ดีฝรั่ง ให้ใช้เงินอย่างประหยัด มีเงินใช้เฉพาะแต่ที่จะรักษาความสุขของตนพอสมควร ดังคำสอนในพระบรมราโชวาท
ตั้งใจอยู่เสมอว่าตัวเป็นคนจน มีเงินใช้มีเงินใช้เฉพาะแต่ที่จะรักษาความสุขของตนพอสมควรดัง ไม่มั้งมีเหมือนผู้ดีฝรั่งที่เขาสืบตระกูลกันมาได้ด้วยดอกเบี้ย อย่าอวดมั่งอวดมีทำเทียบเทียบเขาให้ฟุ้งซ่านไปเป็นอันขาด
๔. สะท้อนให้เห็นว่าวิชาความรู้ในสมัยก่อนนั้นยังไม่รุ่งเรือง เหมือนสมัยนี้ มาจากการที่ไม่ได้คบค้าสมาคมกับชาติอื่นมาช้านาน ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียน จึงต้องไปเรียนภาษาอื่นเพื่อนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังที่ตรัสไว้ในพระบรมราโชวาทว่า
จงเข้าใจว่าภาษาต่างประเทศนั้นเป็นแต่พื้นของความรู้ เพราะวิชาความรู้ในหนังสือไทยที่มีผู้แต่งไว้นั้นเป็นแต่ของเก่ามีน้อย เนื่องจากมิได้สมาคมกับชาติอื่นมาช้านาน ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียนจึงต้องไปเรียนภาษาอื่น แล้วเอากลับลงมาใช้เป็นภาไทยทั้งสิ้น
ข้อคิดที่ได้รับ
๑.คนเราควรอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความเพียร เพื่อนำ ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
๒.ให้เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย อย่ามีทิฐิมานะในทางที่ผิด
๓.รู้จั้กใช้เงินอย่างคุ้มค่าโดยเฉพาะ
๔.ต้องศึกษาเล่าเรียนด้วยวิริยะอุตสาหะ
๕.ควรรักภาษาไทย เพราะภาษาไทยแสดงถึงความเป็นชาติและเอกราชของไทย
๖.เราไม่ควรถือยศศักดิ์ เพราะจะทำให้เข้าสังคมลำบากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
๑. ขุนนางฝรั่ง
ขุนนางหรือเจ้านายฝรั่ง (อังกฤษ) มีบรรดาศักดิ์เรียงจากสูงไปหาต่ำ ดังนี้
๑. Duke เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล สามารถนำชื่อตำแหน่งวางไว้หน้านามโดยตรง
๒. Marquis เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล สามารถนำชื่อตำแหน่งวางไว้หน้านามโดยตรง
๓. Earl เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล มักเรียกคำนำหน้าว่า Lord
๔. Viscount เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล มักเรียกคำนำหน้าว่า Lord
๕. Baron เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล มักเรียกคำนำหน้าว่า Lord
๖. Baronet เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล มักเรียกคำนำหน้าว่า Sir
๗. Knight เป็นตำแหน่งเฉพาะบุคคล มีคำนำหน้าว่า Sir
๒. เชื้อพระวงศ์
กรณีที่เป็นเชื้อพระวงศ์ จะใช้คำนำหน้า ได้แก่
๑. His (Her) Royal Highness Prince (Princess) ใช้กับพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า พระเจ้าหลานเธอที่เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
๒. His (Her) Highness Prince (Princess) ใช้กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า His (Her) Serenc Highness Prince (Princess)ใช้กับหม่อมเจ้า