โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
โคลงภาพพระราชพงศาวดารเกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพ และให้มีโคลงบอกเรื่องพระราชพงศาวดารที่เขียนรูปภาพติดประจำทุกกรอบ รูปใหญ่ ๖ บท รูปเล็ก ๔ บท มีทั้งหมด ๙๒ ภาพ โคลงที่แต่งมีจำนวนทั้งหมด ๓๗๖ บท สร้างเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ทั้งยังได้พิมพ์บทโคลงเป็นเล่ม พระราชทานเป็นของแจกในงานพระเมรุคราวนั้นด้วย คร้ันเสร็จงานพระเมรุแล้วจึงโปรดให้แบ่งรูปภาพ และเรื่องพระราชพงศาวดารไปประดับไว้ ณ พระที่นั่งอัมพรวินิจฉัยบ้าง ส่งไปประดับพระที่นั่งวโรภาสพิมาน ณ พระราชวังบางปะอินบ้าง
จุดประสงค์ในการแต่ง
1.เพื่อสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระมหากษตัริย์ไทยในสมัยกรุงศรีอยธุยาและกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศอย่างใหญ่หลวงในด้านต่าง ๆ
2.เพื่อเชิดชูเกียรติหมู่เสวกามาตย์ที่มีความกล้าหาญ สุจริต และกตัญญูต่อแผ่นดิน
3.เพื่อส่งเสริมและเชิดชูการฝีมือของงานช่างไทย
4.เพื่อส่งเสริมและเชิดชู ศิลปะการประพันธ์อย่างไทย
รูปที่ ๑๐ แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ภาพพระสุริโยทัยขาดคอช้าง
เนื้อเรื่องย่อ
พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพประชิดติดเมือง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงยกพลออกไปออกสู้รบสมเด็จพระสุริโยทัยพระมเหสีทรงเครื่องพิชัยสงคราม ทรงช้าง โดยเสด็จด้วย เมื่อช้างพระที่นั่งของพระมหาจักรพรรดิไปประจันหน้าและชนกับช้างทรงของพระเจ้าแปรทัพหน้า ช้างของพระมหาจักรพรรดิเสียทีกลับหลังวิ่งเตลิด พระเจ้าแปรก็ขับช้างตาม พระสุริโยทัยทรงไสช้างเข้าขัดขวาง พระเจ้าแปรจึงใช้พระแสงของ้าวฟันพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างนั่นเอง
ลักษณะคำประพันธ์ : โคลงสี่สุภาพ
บุเรงนองนามราชเจ้า จอมรา มัญเฮย
ยกพยุหแสนยา ยิ่งแกล้ว
มอญม่านประมวลมา สามสิบ หมื่นแฮ
ถึงอยุธเยศแล้ว หยุดใกล้นครา
ถอดคำประพันธ์ : บุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพอันมีแสนยานุภาพกล้าหาญยิ่ง ทั้งทัพมอญและทัพพม่ารวมแล้วว่าสามแสนคน เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วหยุดพักนอกเมือง
พระมหาจักรพรรดิเผ้า ภูวดล สยามเฮย
วางค่ายรายรี้พล เพียบหล้า
ดำริจักใคร่ยล แรงศึก
ยกนิกรทัพกล้า ออกตั้งกลางสมร
ถอดคำประพันธ์ : พระมหาจักรพรรดิกษัตริย์แห่งกรุงสยามทรงวางกำลังพลมากมายเตรียมรับศึก มีพระราชดำริจะเสด็จออกไปดูกำลังข้าศึกจึงทรงยกองทัพออกไปตั้งกลางสนามรบ
บังอรอัครเรศผู้ พิสมัย ท่านนา
นามพระสุริโยทัย ออกอ้าง
ทรงเครื่องยุทธพิไชย เช่นอุป ราชแฮ
เถลิงคชาธารคว้าง ควบเข้าขบวนไคล
ถอดคำประพันธ์ : พระมเหสีผู้ทรงเป็นผู้พอพระราชหฤทัยของพระองค์ ทรงพระนามว่าพระสุริโยทัย ทรงเครื่องนักรบเหมือนพระมหาอุปราช ทรงช้างพระที่นั่งควบเข้ากระบวนทัพตามเสด็จด้วย
พลไกรกองน่าเร้า โรมรัน กันเฮย
ช้างพระเจ้าแปรประจัญ คชไท้
สารทรงซวดเซผัน หลังแล่น เตลิดแฮ
เตลงขับคชไล่ใกล้ หวิดท้ายคชาธาร
ถอดคำประพันธ์ : ทัพหน้ายกพลเข้าสู้รบกัน ช้างของพระเจ้าแปรเข้าต่อสู้กับช้างของพระมหาจักรพรรดิ
นงคราญองค์เอกแก้ว กระษัตรีย์
มานมนัสกัตเวที ยิ่งล้ำ
เกรงพระราชสามี มลายพระ ชนม์เฮย
ขับคเชนทรเข่นค้ำ สะอึกสู้ดัสกร
ถอดคำประพันธ์ : องค์อัครมเหสีมีน้ำพระทัยกอรปด้วยความกตัญญูกตเวทียิ่ง ทรงวิตกว่าพระสวามีจะสิ้นประชนม์จึงทรงขับช้างพระที่นั่งเข้าต่อสู้กับศัตรู
ขุนมอญร่อนง้าวฟาด ฉาดฉะ
ขาดแล่งตราบอุระ หรุบดิ้น
โอรสรีบกันพระ ศพสู่ นครแฮ
สูญชีพไป่สูญสิ้น พจน์ผู้สรรเสริญ
ถอดคำประพันธ์ : พระเจ้าแปรฟาดพระแสงของ้าวใส่พระอุระขาดสะพายแหล่งสิ้นพระชนม์พระราชโอรสจึงทรงกันพระศพกลับคืนกรุงศรีอยุธยา แม้นพระองค์จะสิ้นพระชนม์ลงแล้วแต่ยังไม่สิ้นผู้สรรเสริญ
ข้อคิดที่จากเรื่อง
๑. ความรักทำให้คนมีความกล้าหาญและเสียสละ
๒. ที่ใดมีสงคราม ที่นั่นมีความสูญเสีย
๓. ความจงรักภักดีต่อสามีเป็นคุณสมบัติที่ดีของภรรยาที่ควรยึดถือปฏิบัติ
๔. บุรุษหรือสตรีย่อมมีความกล้าหาญเหมือนกัน
๕. ความกล้าหาญและความเสียสละเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง
รูปที่ ๕๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต
เนื้อเรื่องย่อ
เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือประพาสปากน้ำ ได้ประทับเรื่อเอกชัยเข้ามาถึงตำบลโคกขามลำคลองลักษณะคดเคี้ยวนายท้ายเรือด้วยความลำบาก ทำให้โขนเรือหัก พันท้ายนรสิงห์จึงรับผิดชอบขอให้พระเจ้าประหารชีวิตตน เพื่อเอาโขนเรือและศีรษะมาเซ่นสรวงทำศาลตามประเพณี สมเด็จพระเจ้าเสือพระราชทานโทษให้ แต่ทรงโปรดให้ปั้นรูปพันท้ายนรสิงห์ขึ้นมาฟันคอรูปแทน พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอม กราบทูลรบเร้าให้พระเจ้าเสือประหารชีวิตตนให้ได้ พระเจ้าเสือก้อต้องจำพระทัยสังเพชฌฆาตประหารชีวิต พันท้าย นรสิงห์ แล้วให้นำศีรษะของพันท้ายทรสิงห์กับโขนเรือเซ่นไว้ที่ศาล เพื่อเป็นที่เตือนใจคนทั่วไป
สรรเพชญที่แปดเจ้า อยุธยา
เสด็จประพาสทรงปลา ปากน้ำ
ล่องเรือเอกไชยมา ถึงโคก ขามพ่อ
คลองคดโขนเรือค้ำ ขัดไม้หักสลาย
ถอดคำประพันธ์ : พระเจ้าสรรเพชญ์ที่แปดกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จประพาสทรงตกปลาที่ปากน้ำโดยล่องเรือพระที่นั่งเอกไชยมาถึงตำบลโคกขามลำคลองที่คดเคี้ยวทำให้หัวเรือพระที่นั่งขัดเข้ากับกิ่งไม้หักลง
พันท้ายตกประหม่าสิ้น สติคิด
โดดจากเรือทูลอุทิศ โทษร้อง
พันท้ายนรสิงห์ผิด บทฆ่า เสียเทอญ
หัวกับโขนเรือต้อง คู่เส้นทำศาล
ถอดคำประพันธ์ : พันท้ายนรสิงห์ตกประหม่าจนขาดสติคิดทรงโดดลงจากเรือทูลขอพระราชทานโทษประหารชีวิตตามความผิดในกฎมนเทียรบาล ให้ตัดศีรษะตั้งคู่กับโขนเรือไว้ที่ศาลเพียงตา
ภูบาลบำเหน็จให้ โทษถนอม ใจนอ
พันไม่ยอมอยู่ยอม มอดม้วย
พระโปรดเปลี่ยนโทษปลอม ฟันรูป แทนพ่อ
พันกราบทูลทัดด้วย ท่านทิ้งประเพณี
ถอดคำประพันธ์ : พระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชทานอภัยโทษให้แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมรับจะยอมตายแม้นพระองค์จะโปรดให้ปั้นรูปพันท้ายนรสิงห์แล้วฟันรูปปั้นแทนแต่พันท้ายนรสิงห์ทัดทานว่าจะผิดพระราชประเพณี
ภูมีปลอบกลับตั้ง ขอบรร ลัยพ่อ
จำสั่งเพชฌฆาตฟัน ฟาดเกล้า
โขนเรือกับหัวพัน เซ่นที่ ศาลแล
ศาลสืบกฤติคุณเค้า คติไว้ในสยาม
ถอดคำประพันธ์ : สมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อได้ฟังเหตุผลของพันท้ายนรสิงห์เช่นนั้นจึง จำพระทัยรับสั่งให้เพชฌฆาตประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ แล้วนำโขนเรือกับศีรษะของพันท้ายนรสิงห์ ไปตั้งบวง สรวงไว้ที่ศาลเพียงตาเพื่อเป็นการประกาศคุณความดีของพันท้ายนรสิงห์ให้คนได้เห็นเป็นแบบอย่างต่อไป
ข้อคิดที่จากเรื่อง
๑. มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ๒. รู้จักเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องพระราชกำหนดให้คงอยู่ตลอดไป ๓. ปลูกจิตสำนึกให้เยาว์ชนไทยเห็นคุณค่าเสียสละของวีระชนไทย
ดีมากเลยๆๆๆ
ตอบลบดีๆๆๆๆๆ
ตอบลบดีมากๆเลยค่ะเอาไปอ่านสอบได้ด้วย
ตอบลบขอบคุณค้าบ( ꈍᴗꈍ)
ตอบลบ