วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562


พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
 
ผู้แต่ง : พระสุนทรโวหาร (ภู่)
ลักษณะการประพันธ์ : พระอภัยมณีแต่งด้วย
                                      กลอนสุภาพในลักษณะนิทาน
ที่มาของเรื่อง : สุนทรภู่ผูกเรื่องพระอภัยมณีขึ้นจากการฟังคำบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของบุคคลในสังคมผสมผสานกับจินตนาการของตนเอง
จุดมุ่งหมายในการประพันธ์ : สุนทรภู่แต่งพระอภัยมณีเพื่อขายเลี้ยงชีพในยามที่ตกยากอยู่ในคุกแต่เมื่อพ้นโทษแล้วก็แต่งเพื่อถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณและกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

เนื้อเรื่องย่อ
ความเดิมตอนต้นเรื่อง






พระอภัยมณีและศรีสุวรรณพระอนุชาถูกขับออกมาจากเมืองรัตนาของท้าวสุทัศน์พระบิดา เนื่องด้วยท้าวสุทัศน์ทรงเห็นว่าวิชาปี่ของพระอภัยมณีและวิชากระบี่กระบองของศรีสุวรรณเป็นวิชาชั้นเลว ไม่มีประโยชน์ในการปกครอง พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเดินทางมาพบ ๓ พราหมณ์ คือ วิเชียร โมรา สานน และได้เป่าปี่ให้ฟังจนทั้งหมดหลับไป นางผีเสื้อสมุทรผ่านมาและพอใจในเสียงปี่จึงได้ลักพาพระอภัยมณีไปไว้ยังถ้ำแล้วแปลงกายเป็นสาวงามมาปรนนิบัติ พระอภัยมณีทราบแต่ทำอะไรไม่ได้จึงจำใจอยู่กินกับนางผีเสื้อ
ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
           พระอภัยมณีอยู่กับนางผีเสื้อสมุทรในถ้ำจนมีพระโอรสชื่อว่าสินสมุทร        สินสมุทรมีมีลักษณะผสมระหว่างพระอภัยมณีและนางผีเสื้อสมุทรดังความว่า
           ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช           แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย
            ทรงกำลังดังพระยาคชาพลาย                           มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา

พระอภัยมณีได้เลี้ยงและถ่ายทอดความรู้ที่พระองค์มีให้กับสินสมุทรจนหมดและมอบของสำคัญไว้ให้ คือ พระธำมรงค์และผ้าคาดเอว วันหนึ่งเมื่อนางผีเสื้อสมุทรออกไปหาอาหาร ด้วยความซุกซนสินสมุทรได้ทดลองผลักหินปากถ้ำจนเปิดแล้วออกไปเที่ยวเล่นในทะเล สินสมุทรพบเงือกชราแต่ไม่รู้จักว่าคืออะไรจึงนำเงือกกลับไปให้พระอภัยมณีทอดพระเนตร พระอภัยมณีเห็นดังนั้นจึงเล่าความจริงให้สินสมุทรฟังทั้งหมด สินสมุทรทราบความแล้วก็เสียใจเป็นอันมาก เงือกฟังแล้วได้อ้อนวอนให้พระอภัยมณีสั่งให้สินสมุทรปล่อยตนไปเสียและให้สัญญาว่าจะพาพระอภัยมณีหนีพึ่งพระโยคีที่เกาะแก้วพิสดารซึ่งอยู่ห่างออกไปราว ๑๐๐ โยชน์ เงือกชราบอกว่าการไปที่เกาะแก้วพิสดารนั้นตนต้องใช้เวลาถึง ๗ วัน ว่ายน้ำไปในมหาสมุทรแต่กลัวนางผีเสื้อสมุทรจะตามทันเพราะนางผีเสื้อสมุทรนั้นมีพละกำลังมากเมื่ออยู่ในทะเลซึ่งใช้เวลาเพียง ๓ – ๔ วันก็ไปถึงเกาะแล้ว เงือกชราแนะให้พระอภัยมณีทำอุบายลวงนางผีเสื้อสมุทรเพื่อจะได้มีเวลาในการหลบหนี
ตกกลางคืนในวันเดียวกัน นางผีเสื้อสมุทรเกิดฝันร้ายว่ามีเทวดามาควักเอานางทั้งสองออกแล้วเหาะหายไป นางตกใจตื่นแล้วเล่าความฝันนั้นให้พระอภัยมณีฟังทั้งหมด พระอภัยมณีเห็นเป็นโอกาสดีจึงทำนายฝันไปว่านางนั้นจะมีเคราะห์ร้ายอาจถึงแก่ชีวิต
และแนะนำให้นางไปบำเพ็ญศีลอยู่บนเขา ๓ วัน เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และห้ามกินเนื้อสัตว์เป็นอันขาด นางผีเสื้อหลงกลพระอภัยมณี สินสมุทรทราบความโดยตลอด       ก็เสียใจจนพระอภัยมณีต้องห้าม ดังความว่า
                    สินสมุทรสุดแสนสงสารแม่                ด้วยรู้แน่ว่าบิดาจะพาหนี
                    ให้ห่วงหลังกังวลด้วยชนนี                 เจ้าโศกีกราบก้มบังคมคัล
                    บิดาดูรู้แจ้งจึงแกล้งห้าม                     จะวอนตามเขาไปไยในไพรสัณฑ์
                    อยู่เป่าปี่ตีเกราะเสนาะครัน                 แล้วรับขวัญลูกน้อยกลอยฤทัย
พระอภัยมณีและสินสมุทรได้หนีไปกับครอบครัวเงือก เมื่อครบ ๓ วัน นางผีเสื้อสมุทรกลับมาไม่พบใครจึงออกตระเวนทะเลตามหาด้วยร่างเนรมิตเป็นยักษ์แล้วเรียกภูตผีในทะเลมาถามจนได้ความและตามพระอภัยมณีไปทันภายใน ๓ วัน สินสมุทรพยายามห้ามแล้วแต่นางผีเสื้อสมุทรไม่ฟัง สินสมุทรจึงหลอกล่อให้มารดาหลงทางเพื่อให้เงือกลูกสาวพาพระอภัยมณีหนีไปให้ถึงเกาะแก้วพิสดาร

เงือกชราสองผัวเมียถูกนางผีเสื้อฆ่าตายซึ่งในขณะเดียวกันพระอภัยมณี            สินสมุทรและเงือกสาวได้หนีขึ้นเกาะแก้วพิสดารทันพระโยคีออกมาห้ามปรามนางผีเสื้อสมุทรแต่นางไม่ฟังและต่อว่าย้อนกลับมาพระโยคีจึงเสกทรายปกป้องเกาะไว้เพื่อไม่ให้นางผีเสื้อสมุทรเข้ามาได้

ศิลปะการประพันธ์
๑. มีความไพเราะ มีสัมผัสในเกือบทุกวรรค เช่น
นิจจาเอ๋ยเคยอยู่เป็นคู่ชื่น               ทุกวันคืนค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง

๒. มีการสรรคำที่โดดเด่น สื่อความหมายได้กินใจ เช่น
แม้นสิ้นสูญบุญนางในปางนี้              ไม่มีที่พึ่งพาจะอาศัย
จะกอดศพซบหน้าโศกาลัย                   ระกำใจว่าจะม้วยไปด้วยกัน

๓. ใช้ภาษาพูดทั่วไป ทำให้อ่านเข้าใจง่าย เช่น
แล้วร้องถามตามประสาเป็นทารก        นี่สัตว์บกหรือสัตว์น้ำดำหนักหนา
โจนกระโจมโครมครามตามเรามา         จะเล่นข้าท่าไรจะใคร่รู้

๔. ใช้คำอุปมาเพื่อให้ภาพชัดเจน เช่น
ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช         แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย

๕. ใช้คำพรรณนาเพื่อสื่อความเคลื่อนไหว เช่น
ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน                 บ้างผุดพ่นฟองน้ำบ้างดำจร

๖. ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น
ลงกลิ้งเกลือกเสือกกายร้องไห้โร่              เสียงโฮโฮดังก้องห้องคูหา

๗. บรรยายเหตุการณ์ได้เห็นภาพและสะเทือนอารมณ์ เช่น
เสียแรงรักหนักหนาอุตส่าห์ถนอม             สู้อดออมสารพัดไม่ขัดขืน
          ช่างกระไรใจจืดไม่ยืดยืน                    นางสะอื้นอ้าปากจนรากเรอ


ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
๑. ความรักควรมีสติ ไม่ควรใช้ความหลงเพราะจะทำให้รักนั้นย้อนกลับมาทำร้ายเช่นเดียวกับนางผีเสื้อสมุทร
๒. เด็กต้องมีความเคารพผู้ใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการที่พระอภัยมณีสอนให้สินสมุทรขอขมาเงือกชราก่อนจะพาขึ้นบ่าหนีไป
๓. คนเราควรรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป
 ากนิสัยที่แท้จริง ไม่ใช่ภาพลักษณ์ เพราะภาพลักษณ์นั้นไม่จีรังถาวร
๒. การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ควรต่างคนต่างอยู่โดยปราศจากน้ำใจ

คุณค่าทางอารมณ์
ในที่นี้จะยกตัวอย่างรสทั้ง 4 ดังนี้
1. เสาวรจนี บทชมความงาม เช่น ตอนชมโฉมศรีสุวรรณ เมื่อปลอมตัวเป็นพราหมณ์เข้าเมือง รมจักรว่า
ฝ่ายทั้งสี่พี่เลี้ยงเมียงชม้อย                   เห็นพราหมณ์น้อยโสภาจะหาไหน
ดูผิวเหลืองเรืองรองทองอุไร                งามวิไลแลเล่ห์เทวดา
ขนงเนตรเกศกรรณและกรแก้ม           แลแฉล้มน่ารักเป็นนักหนา
พิศวงหลงลืมกระพริบตา                    เสน่หาปั่นปวนรัญจวนใจ

2. นารีปาโมทย์ บทเกรี้ยวพาราสี เช่น ตอนศรีสุวรรณสลักใบตองอ่อนเป็นสารรักถึง นางเกษราว่า
เผอิญให้โฉมงามทรามสวาท               มาประพาสชมพรรณบุปผา
พี่ยลยอดเยาวเรศเกษรา                      ช่างโสภานิ่มน้องละอองนวล
ประไพพร้อมนิ่มน้อยกลอยสวาท       ดังนางในไกรลาสมาเล่นสวน
เสด็จกลับลับไปให้รัญจวน                  เฝ้าอักอ่วนอาวรณ์ร้อนฤทัย

3. พิโรธวาทัง บทโกรธ หรือตัดพ้อต่อว่า เช่น ตอนพระโยคีโกรธที่นางผีเสื้อสมุทร กล่าวหาว่าไม่อยู่ในศีล ว่า
พระโยคีชี้หน้าว่าอุเหม่                         ยังโว้เว้วุ่นวายอีตายโหง
เพราะหวงผัวมัวเมาเฝ้าตะโกรง           ว่ากูโกงมึงก็ตกนรกเอง
อียักษาตาโตโมโหมาก                          รูปก็กากปากก็เปราะไม่เหมาะเหมง
นมสองข้างอย่างกระโปรงดูโตงเตง     ผัวของเองเขาระอาไม่น่าชม

4. สัลลาปังคพิไสย คือบทคร่ำครวญ หรือโศกเศร้า เช่น ตอนสุดสาครรำพันถึงมารดา ตอนจากไปตามหาพ่อว่า
โอ้สงสารมารดานิจจาเอ๋ย                     เคยชมเชยลูกยาอัชฌาสัย
น้ำนมแม่แต่ละข้างช่างกระไร              ลูกเคยรับประทานทั้งหวานมัน
โอ้จากมาน่าเสียดายเมื่อภายหลัง          จะย้อยพรั่งฟูมนองทั้งสองถัน
ลูกยิ่งอยากมากมายเสียดายครัน           สะอื้นอั้นอดนมตรมฤทัย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น             ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายควา...