วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

ภาพพจน์ในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

ภาพพจน์ในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

         ภาพพจน์ หมายถึง คำ หรือ กลุ่มคำ ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คำ เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและลึกซึ้งขึ้นในใจทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธีการเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลายประเภท แต่ที่สำคัญๆ คือ

1. อุปมา
    การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น" เช่น
                เปรียบเธอเพชรงามน้ำหวานปานน้ำผึ้งเดือนห้า
                โง่งมต่อไปข้างเดียวเหมือนได้ต่อเวลาช้ำแค่ข้ามวัน
                  พยายามฝืนยิ่งเหมือนไร้หนทาง
                  เธอเหมือนกุญแจที่หายเหมือนคนที่ไขประตูให้ฉัน



 2. อุปลักษณ์
     การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คำว่า "คือ" และ "เป็น" เช่น
                 แต่วันนี้เธอคือทุกอย่างในใจฉัน
                 จากกันในวันนี้ แม้เสียใจ แต่รักคือการให้ไป
                 หากเธอเป็นภูเขา ฉันจะเป็นต้นไม้
                 หากเธอเป็นท้องฟ้า ฉันจะเป็นเมฆสีขาว


3. บุคคลวัต
    การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น
                เจ้าไม้ขีดไฟ ก้านน้อยเดียวดายแอบรักดอกทานตะวัน
               โอ้เจ้าหนอนผีเสื้อ ไม่เหลือเวลาตามฝัน
                เป็นแค่หนอนไร้ค่าหลงรักเจ้าช่อดอกไม้ทั้งใจ          
                นกเอี้ยงเลิกนั่งเลี้ยงควาย



4. อติพจน์
    การเปรียบเทียบโดยการกล่าวข้อความที่เกินจริง  เช่น
               แต่จะทำยังไงก็ไม่หยุดรักเธอ
               แต่ว่าหัวใจสว่างได้เพราะเธอ
               แผ่นฟ้าก็ไม่อาจกั้นกลางจากหัวใจ
               จดหมายนี้ฉันเขียนในใจ


5. สัทพจน์ 
    คือการเลียนเสียงทั้งเสียงโรรมชาติและเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น
              แอ๊บๆ เขียดจะนา ร้องยามฟ้าฮ้องหวนๆ
              เสียงตะโพน เท่งติง ติง เท่งป๊ะ เสียงกลองแขก โจ๊ะ จ๊ะ โจ๊ะ โจ๊ะ
              ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย  จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน  (เสียงปี่พระอภัยมณี)
              ตะแล้กแต้กแต้ก จะแหลกแล้วจ้า กระด้งรีบมาแถอะรับข้าวไป (เสียงครกกระเดื่อง)



6. ปฏิพากย์
     คือการนำสิ่งที่มีความขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกัน  เช่น
              รักก่อวิวาทกัน !โอ้ความชังอันน่ารัก
              โลกมนุษย์ยังมีสีดำขาว มีดินดาวร้อนเย็นและเหม็นหอม
              โอ้ความเบาแสนหนัก !
              ขนนกหนัก !ควันผ่องพรรณ



7. นามนัย
     คือ การเปรียบเทียบโดยการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่น หรือลักษณะสำคัญมากล่าวแทนคำที่ใช้เรียก สิ่งนั้นโดยตรง เช่น
            จามจุรี แทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            รุ้ง แทน ความหวัง พลัง กำลังใจ
            หมอก แทน มายา อุปสรรค สิ่งที่สลายตัวรวดเร็ว
            นกพิราบ แทน สันติภาพ
            ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
             ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ






ถาม-ตอบ
1. “สายธาราดั่งนาฬิกาแก้ว  แว่วแว่วจ๊อกจ๊อกเซาะซอกหิน” ข้อความที่ขีดเส้นใต้ใช้ภาพพจน์
ชนิดใด
      ก. สัทพจน์                         
      ข. สัญลักษณ์
      ค. บุคลวัต
      ง. อุปมา


ตอบ : ก   (จ๊อกจ๊อก) เสียงน้ำ

2. ข้อใดใช้ภาพพจน์แบบบุคคลวัต
      ก.  อนงค์นำเคลื่อนเขยื้อนไป    สะบัดสไบวิไลตา
      ข.  สยามจะอยู่มิรู้ชรา    กระเดื่องวิชาวิชัยชโย
      ค.  ยามเกิดเกิดปรีดา    เกิดน้ำตาตื้นตันใจ
      ง.  กล้าแดดจ้ากล้าพายุกล้าต้น   กล้าต้านทนร้อนลมระดมกล้า

ตอบ : ข   (สยามจะอยู่มิรู้ชรา)









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น             ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายควา...