วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ระดับภาษา

ระดับภาษา

ลักษณะภาษาในระดับต่างๆภาษาที่ใช้ในระดับต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
      ๑. ภาษาระดับพิธีการ ผู้ใช้ภาษาระดับพิธีการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่างๆ ผู้รับสารเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ ใช้การส่งสารผ่านสื่อสารมวลชน หรือในที่ประชุมชน ภาษาระดับนี้มีการเลือกถ้อยคำที่สุภาพสละสลวย สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับพิธีการ ได้แก่ คำกล่าวในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์ โอวาท ปาฐกถาคำกล่าวสดุดี คำไว้อาลัย คำกล่าวปราศรัย การแนะนำบุคคลสำคัญ บทร้อยกรองที่ต้องการจรรโลงใจให้ข้อคิด

      ๒. ภาษาระดับทาง การ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารในวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพเดียวกัน ผู้รับสารกับผู้ส่งสารมีความสัมพันธ์กันในด้านหน้าที่การงาน สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับทางการ ได้แก่ งานเขียนทางวิชาการสาขาต่างๆ งานเขียนในแวดวงอาชีพเดียวกัน เอกสารของราชการ เช่น รายงานการประชุม  จดหมายราชการ คำสั่งประกาศ การประชุมปรึกษาในวาระสำคัญ การเขียนข้อสอบอัตนัย การเป็นพิธีกรรายการที่มีสาระ


      ๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันวงการ วิชาการหรือวงการอาชีพ สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ ได้แก่ งานเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทบรรยายในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายกิจธุระ จดหมายธุรกิจ จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลซึ่งไม่คุ้นเคยกัน การประชุมภายในหน่วยงาน การพูดโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไป การเป็นพิธีกรรายการบันเทิง
      ๔. ภาษาระดับสนทนาหรือระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน ญาติ การเรียบเรียงภาษาไม่เคร่งครัดตามหลักไวยากรณ์มากนัก สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับสนทนา ได้แก่ การสนทนากับบุคคลทั่วไป บทสนทนาใน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน การรายงานข่าวชาวบ้านในรายการโทรทัศน์ การเขียนบันทึกส่วนตัว การเขียนบทความในหนังสือพิมพ์
      ๕. ภาษาระดับกันเองหรือระดับปาก ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก เป็นพิเศษ เช่น เพื่อนสนิท ลักษณะภาษาอาจมีคำไม่สุภาพปะปนอยู่บ้าง สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกันเอง เช่น การสนทนากับบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมาก การเขียนบทสนทนาในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร การเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกับเพื่อนสนิท การเขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์

ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษา
      ๑. โอกาสและสถานที่ เช่น ถ้าสื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่ในที่ประชุมก็จะใช้ภาษาระดับหนึ่ง ถ้าพูดกันในตลาดร้านค้าภาษาก็จะต่างระดับกันออกไป


      ๒. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น บุคคลที่ไม่เคยรู้จัก บุคคลที่เพิ่งรู้จัก บุคคล ที่เป็นเพื่อนสนิท เป็นปัจจัยให้ใช้ภาษาต่างระดับกัน แต่อย่างไรก็ตามต้องยึดหลักพิจารณาโอกาสและสถานที่ด้วย


      ๓. ลักษณะของเนื้อหา เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ไม่นำไปใช้กับภาษาแบบแผน หรือภาษาที่เป็นทางการ

      ๔. สื่อที่ใช้ในการส่งสาร เช่น จดหมายปิดผนึกกับไปรษณียบัตร ระดับภาษาที่ใช้ต้องตรงกัน เมื่อพูดด้วยปากกับพูดด้วยเครื่องขยายเสียงหรือพูดทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ ระดับภาษาที่ใช้ย่อมแตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น             ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายควา...