วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น


            ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายความให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

            1. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน
            2. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน
            3. ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน

1. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน
    1.1 ความซับซ้อนในภาคประธาน  (มีคำหรือกลุ่มคำมาขยายประธานของประโยค)
                  การรเฝ้าติดตามความเคลื่อไหวของกลุ่มดาวยามค่ำคืนทำให้พบดาวดวงใหม่
                  รถเมล์สาย 40 คันสีแดงเข้มคาดสีเหลืองวิ่งเร็วมาก
                  แม่ของเพื่อนของน้องฉันซื้อบ้านหลังใหม่
     1.2 ความซับซ้อนในภาคแสดง
                  คนป่ากลุ่มนั้นต่างกระโดด โลดเต้น ร่ายรำ และร้องเพลงไปตามจังหวะกลอง
                  นักรียนต่างขยันเตรียมตัวสอบไล่โดยทบทวนตำรา อ่านเนื้อหาและสรุปประเด็นพร้อมกับท่องจำอย่างเข้าใจ
                  กระรอกตัวนั้นกระโดดไปที่ผลมะพร้าว มันพยายามกัด แทะ เคี้ยว และกลืนกินเนื้อ มะพร้าวอย่างเอร็ดอร่อย


2. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน
                 ปรีชาไม่ชอบเล่นฟุตบอล แต่เขาชอบพนันฟุตบอล ดังนั้น เขามีปัญหาเรื่องการเงินและในที่สุดปรีชาหยุดการเรียนไปอย่างน่าเสียดาย
                 บุญยืนเป็นเด็กกำพร้าพ่อแม่ ฉันจึงรับเขามาเลี้ยงดูด้วยความรักและส่งบุญยืนเรียนหนังสือ      แต่ภายหลังเด็กคนนี้ขาดความเชื่อฟังฉันและไปคบเพื่อนที่เลว ดังนั้นเขาจึงติดยาเสพติดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
                 พ่อและแม่ปลูกต้นไม้แต่ลูกและหลานดูโทรทัศน์
                 เธอเป็นคนซื่อสัตย์ทั้งยังทำงานบ้านดีอีกด้วยเพราะฉะนั้นลูกและสามีจึงมีความสุข

*** ตัวสีแดง คือคำสันธานที่เชื่อมระหว่างประโยคความรวม2ประโยคเอาไว้


3. ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน
                  ประเสริฐเดินทางไปสงขลาโดยรถด่วนสายใต้ขบวนยาวเหยียดเพราะช่วงนั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ที่ทุกคนพากันเดินทางท่องเที่ยว
                  ชายร่างผอมผิวคล้ำวัยกลางคนนั้นเดินเร็วมากจนฉันเดินตามแทบไม่ทัน แต่ขณะที่เขากำลังย่างขึ้นนั่งบนรถประจำทางสายปอ. 16 เมื่อฉันก้าวเท้าขึ้นรถคันนั้นพอดีเช่นกัน
                  พระราชาองค์นี้ทรงทศพิธราชธรรมดียิ่งดังนั้นราษฎรจึงรักพระองค์จนพวกเขาสละชีพเพื่อพระองค์ได้
                  พ่อแม่ทำงานหนัดเพื่อให้ลูกมีอนาคตสดใสอันจะนำความปลาปลื้มมาสู่ครอบครัว





วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

รสในวรรณคดีไทย

รสในวรรณคดีไทย

หมายถึง รสของความไพเราะในการใช้ถ้อยคำให้เกิดความงดงามและเกิดอารมณ์แบ่งเป็น 4 รสคือ

          1. เสาวรจนี
          2. นารีปราโมทย์
          3. พิโรธวาทัง
          4. สัลลาปังคพิสัย

1. เสาวรจนี หมายถึง การชมความงาม อาจเป็นชมความงามของตัวละครทั้งชายและหญิง ชมความงามของบ้านเมือง กองทัพ ป่าธรรมชาติ

     พอดูรวมๆ แล้วมีเสน่ห์เหลือเกินไม่ต้องมาเขินฉันพูดจริงๆเธอมีเสน่ห์มากมายจะน่ารักไปไหนอยากจะได้แอบอิงยิ่งดูยิ่งมีเสน่ห์

     หน่อกษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย          ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม
ประไพพักตร์ลักษณ์ล้าล้วนขาคม             ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง
ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด                      ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง
พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง           แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป

     เสียงเจ้าสิเพรากว่า                  ดุริยางคะดีดใน
ฟากฟ้าสุราลัย                              สุรศัพทะเริงรมย์
ยามเดินบนเขินขัด                        กละนัจจะน่าชม
กรายกรก็เร้ารม                             ยะประหนึ่งระบำสรวย


2. นารีปราโมทย์   หมายถึง อารมณ์ที่แสดงถึงความรักตั้งแต่ชื่นชม ชื่นชอบ เกี้ยวพาราสี รักใคร่ ฯลฯ (จีบกัน)

      ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหสมุทร        ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้นเกิดในใต้หล้าสุธาธาร             ขอพบพานพิศวาสทุกชาติไป

       พี่พบน้องเพี้ยงแต่                    ยามเดียว
คือเชือกผสมผสานเกลียว               แฝดฝั้น
ดังฤาจะพลันเหลียว                        คืนจาก เรียมนา
เจ้าจากเรียมจักกลั้น                        สวาทกลั้นใจตาย


3. พิโรธวาทัง หมายถึง การแสดงอารมณ์ ฉุนเฉียว ประชดประชัน โกรธเคือง โกรธแค้น ทะเลาะทุ่มเถียง

         แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ    จงอย่ายาตรยุทธนา    เอาพัสตราสตรี     สวมอินทรีย์สร่างเคราะห์

         ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ                 ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
เป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย                       มิตายก็จะได้เห็นหน้า

         เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร           ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉนก็มาเป็น
ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น                        จะน้อยจะมากจะยากจะเย็นประการไร
อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ          ขยาดขยั้นมิทันอะไรก็หมิ่นกู


4. สัลลาปังคพิสัย หมายถึง การแสดงความเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้คร่ำครวญ

         เราสองคนจนใจไร้ที่อยู่          เปลอู่ขัดขวางเพราะห่างบ้าน
หยูกยาสารพัดจะกันดาร                  ที่นอนหมอนมุ้งม่านก็ไม่มี

          สีดาเอยถึงจะตาย                  จะวอดวายพระชนมา
จงเอื้อนโอษฐ์ออกเจรจา                 จะจากแล้วจงสั่งกัน
เจ้าชายเนตรดูพี่บ้าง                        ให้พี่สร่างซึ่งโศกศัลย์
เราจะร่วมพระเพลิงกัน                     ในเขตขัณฑ์พระคงคา

          เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ         ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา                                 วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์






โวหารในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

โวหารในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

    หมายถึง ถ้อยค้าที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมีศิลปะ เพื่อสื่อให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึกซึ้ง รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร

โวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
    1. อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบ 
    2. บรรยายโวหาร คือ การอธิบาย
    3. พรรณนาโวหาร คือ ทำให้เห็นภาพ
    4. เทศนาโวหาร คือ การสั่งสอน
    5. สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่าง


1. อุปมาโวหาร
    “…ซึ่งเราจะเข้าอยู่ด้วยผู้ใดนอกจากเล่าปี่นั้นอย่าสงสัยเลย
 ตัวเราก็มิได้รักชีวิต อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ
 ท่านเร่งกลับไปบอกแก่โจโฉให้ตระเตรียมทหารไว้ให้พร้อม
 เราจะยกลงไปรบ…”


2. บรรยายโวหาร
    ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิท่ีสุดในประเทศญี่ปุ่น
มาหลายศตวรรษแล้วแต่แรกภูเขานี้เป็นที่เคารพบูชา
ของชนพื้นเมืองเผ่าไอนุซึ่งปัจจุบนยังอยู่ตามหมู่เกาะ
ฮอกไกโด ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ ที่อยู่เหนือสุด ชาวไอนุ
ขนานนามภูเขานี้ตามชื่อเทพธิดา “ฟูช”ผู้เป็น เทพธิดาแห่งอัคคี


3. พรรณนาโวหาร
    วันเพ็ญ พระจันทร์สีนวลจ้าส่องแสงอยู่วงรัศมีสีขาว น้ำขึ้นเต็มฝั่ง นิ่งไม่กระดุกกระดิก แต่เป็นเงาแวววาวเหมือนถาดเงินใบใหญ่ที่ขัดมัน ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนหนึ่งมีต้นลำพูต้นใหญ่

    เสียงน้้าใสไหลเย็นกระเซ็นเซาะ ซัดแก่งเกาะคลื่นเกลียวเลี้ยวซ้ายขวาสุดแนวหินก็ไหลรินตกลงมา สู่ธาราเบื้องล่างอย่างงดงามสายน้้าสวยรวนรินเป็นฟองคลื่น ละอองชื้นสาดไปไกลเกินห้ามต้องแสงทองที่สาดส่องเป็นรุ้งงาม ทุกเมื่อยามน้้าไม่เคยเหือดแห้งไป


4. เทศนาโวหาร
    ทำอะไรก็อย่าทำด้วยความอยากมีอยากเป็น อยากได้นั่นอยากได้นี่ แต่เราทำไปตามหน้าที่ของเรา เรามีหน้าที่อะไรก็ทำหน้าที่นั้นให้สมบูรณ์ ให้เรียบร้อย ไม่ต้องมีความอยากจะได้ อยากจะเป็นก็ทำได้ทำเพราะสำนึกในหน้าที่ มันเป็นเหตุให้กระตุ้นเตือนให้กระทำเพราะความสำนึกว่าเราเกิดเพื่อหน้าที่ หรือคำพูดที่เคยพูดบ่อยๆ ว่า “งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขขณะทำงาน”

    แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์             มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
อันเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด              ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน


5. สาธกโวหาร

         คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้         ย่อมเฒ่าแก่ เกิดโรคโศกสงสาร
 ความตายหนึ่งพึงเห็นเป็นประธาน      หวังนิพพานพ้นทุกข์สุขสบาย

         ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้        เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
อันศีลห้าว่าอย่าทำให้จำตาย                    จะตกอบายภูมิขุมนรก


















ภาพพจน์ในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

ภาพพจน์ในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

         ภาพพจน์ หมายถึง คำ หรือ กลุ่มคำ ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คำ เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและลึกซึ้งขึ้นในใจทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธีการเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลายประเภท แต่ที่สำคัญๆ คือ

1. อุปมา
    การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น" เช่น
                เปรียบเธอเพชรงามน้ำหวานปานน้ำผึ้งเดือนห้า
                โง่งมต่อไปข้างเดียวเหมือนได้ต่อเวลาช้ำแค่ข้ามวัน
                  พยายามฝืนยิ่งเหมือนไร้หนทาง
                  เธอเหมือนกุญแจที่หายเหมือนคนที่ไขประตูให้ฉัน



 2. อุปลักษณ์
     การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คำว่า "คือ" และ "เป็น" เช่น
                 แต่วันนี้เธอคือทุกอย่างในใจฉัน
                 จากกันในวันนี้ แม้เสียใจ แต่รักคือการให้ไป
                 หากเธอเป็นภูเขา ฉันจะเป็นต้นไม้
                 หากเธอเป็นท้องฟ้า ฉันจะเป็นเมฆสีขาว


3. บุคคลวัต
    การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น
                เจ้าไม้ขีดไฟ ก้านน้อยเดียวดายแอบรักดอกทานตะวัน
               โอ้เจ้าหนอนผีเสื้อ ไม่เหลือเวลาตามฝัน
                เป็นแค่หนอนไร้ค่าหลงรักเจ้าช่อดอกไม้ทั้งใจ          
                นกเอี้ยงเลิกนั่งเลี้ยงควาย



4. อติพจน์
    การเปรียบเทียบโดยการกล่าวข้อความที่เกินจริง  เช่น
               แต่จะทำยังไงก็ไม่หยุดรักเธอ
               แต่ว่าหัวใจสว่างได้เพราะเธอ
               แผ่นฟ้าก็ไม่อาจกั้นกลางจากหัวใจ
               จดหมายนี้ฉันเขียนในใจ


5. สัทพจน์ 
    คือการเลียนเสียงทั้งเสียงโรรมชาติและเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น
              แอ๊บๆ เขียดจะนา ร้องยามฟ้าฮ้องหวนๆ
              เสียงตะโพน เท่งติง ติง เท่งป๊ะ เสียงกลองแขก โจ๊ะ จ๊ะ โจ๊ะ โจ๊ะ
              ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย  จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน  (เสียงปี่พระอภัยมณี)
              ตะแล้กแต้กแต้ก จะแหลกแล้วจ้า กระด้งรีบมาแถอะรับข้าวไป (เสียงครกกระเดื่อง)



6. ปฏิพากย์
     คือการนำสิ่งที่มีความขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกัน  เช่น
              รักก่อวิวาทกัน !โอ้ความชังอันน่ารัก
              โลกมนุษย์ยังมีสีดำขาว มีดินดาวร้อนเย็นและเหม็นหอม
              โอ้ความเบาแสนหนัก !
              ขนนกหนัก !ควันผ่องพรรณ



7. นามนัย
     คือ การเปรียบเทียบโดยการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่น หรือลักษณะสำคัญมากล่าวแทนคำที่ใช้เรียก สิ่งนั้นโดยตรง เช่น
            จามจุรี แทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            รุ้ง แทน ความหวัง พลัง กำลังใจ
            หมอก แทน มายา อุปสรรค สิ่งที่สลายตัวรวดเร็ว
            นกพิราบ แทน สันติภาพ
            ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
             ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ






ถาม-ตอบ
1. “สายธาราดั่งนาฬิกาแก้ว  แว่วแว่วจ๊อกจ๊อกเซาะซอกหิน” ข้อความที่ขีดเส้นใต้ใช้ภาพพจน์
ชนิดใด
      ก. สัทพจน์                         
      ข. สัญลักษณ์
      ค. บุคลวัต
      ง. อุปมา


ตอบ : ก   (จ๊อกจ๊อก) เสียงน้ำ

2. ข้อใดใช้ภาพพจน์แบบบุคคลวัต
      ก.  อนงค์นำเคลื่อนเขยื้อนไป    สะบัดสไบวิไลตา
      ข.  สยามจะอยู่มิรู้ชรา    กระเดื่องวิชาวิชัยชโย
      ค.  ยามเกิดเกิดปรีดา    เกิดน้ำตาตื้นตันใจ
      ง.  กล้าแดดจ้ากล้าพายุกล้าต้น   กล้าต้านทนร้อนลมระดมกล้า

ตอบ : ข   (สยามจะอยู่มิรู้ชรา)









ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น             ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายควา...