วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

รสในวรรณคดีไทย

รสในวรรณคดีไทย

หมายถึง รสของความไพเราะในการใช้ถ้อยคำให้เกิดความงดงามและเกิดอารมณ์แบ่งเป็น 4 รสคือ

          1. เสาวรจนี
          2. นารีปราโมทย์
          3. พิโรธวาทัง
          4. สัลลาปังคพิสัย

1. เสาวรจนี หมายถึง การชมความงาม อาจเป็นชมความงามของตัวละครทั้งชายและหญิง ชมความงามของบ้านเมือง กองทัพ ป่าธรรมชาติ

     พอดูรวมๆ แล้วมีเสน่ห์เหลือเกินไม่ต้องมาเขินฉันพูดจริงๆเธอมีเสน่ห์มากมายจะน่ารักไปไหนอยากจะได้แอบอิงยิ่งดูยิ่งมีเสน่ห์

     หน่อกษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย          ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม
ประไพพักตร์ลักษณ์ล้าล้วนขาคม             ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง
ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด                      ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง
พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง           แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป

     เสียงเจ้าสิเพรากว่า                  ดุริยางคะดีดใน
ฟากฟ้าสุราลัย                              สุรศัพทะเริงรมย์
ยามเดินบนเขินขัด                        กละนัจจะน่าชม
กรายกรก็เร้ารม                             ยะประหนึ่งระบำสรวย


2. นารีปราโมทย์   หมายถึง อารมณ์ที่แสดงถึงความรักตั้งแต่ชื่นชม ชื่นชอบ เกี้ยวพาราสี รักใคร่ ฯลฯ (จีบกัน)

      ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหสมุทร        ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้นเกิดในใต้หล้าสุธาธาร             ขอพบพานพิศวาสทุกชาติไป

       พี่พบน้องเพี้ยงแต่                    ยามเดียว
คือเชือกผสมผสานเกลียว               แฝดฝั้น
ดังฤาจะพลันเหลียว                        คืนจาก เรียมนา
เจ้าจากเรียมจักกลั้น                        สวาทกลั้นใจตาย


3. พิโรธวาทัง หมายถึง การแสดงอารมณ์ ฉุนเฉียว ประชดประชัน โกรธเคือง โกรธแค้น ทะเลาะทุ่มเถียง

         แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ    จงอย่ายาตรยุทธนา    เอาพัสตราสตรี     สวมอินทรีย์สร่างเคราะห์

         ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ                 ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
เป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย                       มิตายก็จะได้เห็นหน้า

         เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร           ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉนก็มาเป็น
ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น                        จะน้อยจะมากจะยากจะเย็นประการไร
อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ          ขยาดขยั้นมิทันอะไรก็หมิ่นกู


4. สัลลาปังคพิสัย หมายถึง การแสดงความเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้คร่ำครวญ

         เราสองคนจนใจไร้ที่อยู่          เปลอู่ขัดขวางเพราะห่างบ้าน
หยูกยาสารพัดจะกันดาร                  ที่นอนหมอนมุ้งม่านก็ไม่มี

          สีดาเอยถึงจะตาย                  จะวอดวายพระชนมา
จงเอื้อนโอษฐ์ออกเจรจา                 จะจากแล้วจงสั่งกัน
เจ้าชายเนตรดูพี่บ้าง                        ให้พี่สร่างซึ่งโศกศัลย์
เราจะร่วมพระเพลิงกัน                     ในเขตขัณฑ์พระคงคา

          เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ         ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา                                 วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น             ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายควา...