วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น


            ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายความให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

            1. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน
            2. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน
            3. ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน

1. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน
    1.1 ความซับซ้อนในภาคประธาน  (มีคำหรือกลุ่มคำมาขยายประธานของประโยค)
                  การรเฝ้าติดตามความเคลื่อไหวของกลุ่มดาวยามค่ำคืนทำให้พบดาวดวงใหม่
                  รถเมล์สาย 40 คันสีแดงเข้มคาดสีเหลืองวิ่งเร็วมาก
                  แม่ของเพื่อนของน้องฉันซื้อบ้านหลังใหม่
     1.2 ความซับซ้อนในภาคแสดง
                  คนป่ากลุ่มนั้นต่างกระโดด โลดเต้น ร่ายรำ และร้องเพลงไปตามจังหวะกลอง
                  นักรียนต่างขยันเตรียมตัวสอบไล่โดยทบทวนตำรา อ่านเนื้อหาและสรุปประเด็นพร้อมกับท่องจำอย่างเข้าใจ
                  กระรอกตัวนั้นกระโดดไปที่ผลมะพร้าว มันพยายามกัด แทะ เคี้ยว และกลืนกินเนื้อ มะพร้าวอย่างเอร็ดอร่อย


2. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน
                 ปรีชาไม่ชอบเล่นฟุตบอล แต่เขาชอบพนันฟุตบอล ดังนั้น เขามีปัญหาเรื่องการเงินและในที่สุดปรีชาหยุดการเรียนไปอย่างน่าเสียดาย
                 บุญยืนเป็นเด็กกำพร้าพ่อแม่ ฉันจึงรับเขามาเลี้ยงดูด้วยความรักและส่งบุญยืนเรียนหนังสือ      แต่ภายหลังเด็กคนนี้ขาดความเชื่อฟังฉันและไปคบเพื่อนที่เลว ดังนั้นเขาจึงติดยาเสพติดไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
                 พ่อและแม่ปลูกต้นไม้แต่ลูกและหลานดูโทรทัศน์
                 เธอเป็นคนซื่อสัตย์ทั้งยังทำงานบ้านดีอีกด้วยเพราะฉะนั้นลูกและสามีจึงมีความสุข

*** ตัวสีแดง คือคำสันธานที่เชื่อมระหว่างประโยคความรวม2ประโยคเอาไว้


3. ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน
                  ประเสริฐเดินทางไปสงขลาโดยรถด่วนสายใต้ขบวนยาวเหยียดเพราะช่วงนั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ที่ทุกคนพากันเดินทางท่องเที่ยว
                  ชายร่างผอมผิวคล้ำวัยกลางคนนั้นเดินเร็วมากจนฉันเดินตามแทบไม่ทัน แต่ขณะที่เขากำลังย่างขึ้นนั่งบนรถประจำทางสายปอ. 16 เมื่อฉันก้าวเท้าขึ้นรถคันนั้นพอดีเช่นกัน
                  พระราชาองค์นี้ทรงทศพิธราชธรรมดียิ่งดังนั้นราษฎรจึงรักพระองค์จนพวกเขาสละชีพเพื่อพระองค์ได้
                  พ่อแม่ทำงานหนัดเพื่อให้ลูกมีอนาคตสดใสอันจะนำความปลาปลื้มมาสู่ครอบครัว





วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

รสในวรรณคดีไทย

รสในวรรณคดีไทย

หมายถึง รสของความไพเราะในการใช้ถ้อยคำให้เกิดความงดงามและเกิดอารมณ์แบ่งเป็น 4 รสคือ

          1. เสาวรจนี
          2. นารีปราโมทย์
          3. พิโรธวาทัง
          4. สัลลาปังคพิสัย

1. เสาวรจนี หมายถึง การชมความงาม อาจเป็นชมความงามของตัวละครทั้งชายและหญิง ชมความงามของบ้านเมือง กองทัพ ป่าธรรมชาติ

     พอดูรวมๆ แล้วมีเสน่ห์เหลือเกินไม่ต้องมาเขินฉันพูดจริงๆเธอมีเสน่ห์มากมายจะน่ารักไปไหนอยากจะได้แอบอิงยิ่งดูยิ่งมีเสน่ห์

     หน่อกษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย          ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม
ประไพพักตร์ลักษณ์ล้าล้วนขาคม             ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง
ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด                      ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง
พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง           แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป

     เสียงเจ้าสิเพรากว่า                  ดุริยางคะดีดใน
ฟากฟ้าสุราลัย                              สุรศัพทะเริงรมย์
ยามเดินบนเขินขัด                        กละนัจจะน่าชม
กรายกรก็เร้ารม                             ยะประหนึ่งระบำสรวย


2. นารีปราโมทย์   หมายถึง อารมณ์ที่แสดงถึงความรักตั้งแต่ชื่นชม ชื่นชอบ เกี้ยวพาราสี รักใคร่ ฯลฯ (จีบกัน)

      ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหสมุทร        ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้นเกิดในใต้หล้าสุธาธาร             ขอพบพานพิศวาสทุกชาติไป

       พี่พบน้องเพี้ยงแต่                    ยามเดียว
คือเชือกผสมผสานเกลียว               แฝดฝั้น
ดังฤาจะพลันเหลียว                        คืนจาก เรียมนา
เจ้าจากเรียมจักกลั้น                        สวาทกลั้นใจตาย


3. พิโรธวาทัง หมายถึง การแสดงอารมณ์ ฉุนเฉียว ประชดประชัน โกรธเคือง โกรธแค้น ทะเลาะทุ่มเถียง

         แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ    จงอย่ายาตรยุทธนา    เอาพัสตราสตรี     สวมอินทรีย์สร่างเคราะห์

         ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ                 ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
เป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย                       มิตายก็จะได้เห็นหน้า

         เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร           ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉนก็มาเป็น
ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น                        จะน้อยจะมากจะยากจะเย็นประการไร
อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ          ขยาดขยั้นมิทันอะไรก็หมิ่นกู


4. สัลลาปังคพิสัย หมายถึง การแสดงความเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้คร่ำครวญ

         เราสองคนจนใจไร้ที่อยู่          เปลอู่ขัดขวางเพราะห่างบ้าน
หยูกยาสารพัดจะกันดาร                  ที่นอนหมอนมุ้งม่านก็ไม่มี

          สีดาเอยถึงจะตาย                  จะวอดวายพระชนมา
จงเอื้อนโอษฐ์ออกเจรจา                 จะจากแล้วจงสั่งกัน
เจ้าชายเนตรดูพี่บ้าง                        ให้พี่สร่างซึ่งโศกศัลย์
เราจะร่วมพระเพลิงกัน                     ในเขตขัณฑ์พระคงคา

          เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ         ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา                                 วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์






โวหารในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

โวหารในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

    หมายถึง ถ้อยค้าที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมีศิลปะ เพื่อสื่อให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึกซึ้ง รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร

โวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
    1. อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบ 
    2. บรรยายโวหาร คือ การอธิบาย
    3. พรรณนาโวหาร คือ ทำให้เห็นภาพ
    4. เทศนาโวหาร คือ การสั่งสอน
    5. สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่าง


1. อุปมาโวหาร
    “…ซึ่งเราจะเข้าอยู่ด้วยผู้ใดนอกจากเล่าปี่นั้นอย่าสงสัยเลย
 ตัวเราก็มิได้รักชีวิต อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ
 ท่านเร่งกลับไปบอกแก่โจโฉให้ตระเตรียมทหารไว้ให้พร้อม
 เราจะยกลงไปรบ…”


2. บรรยายโวหาร
    ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิท่ีสุดในประเทศญี่ปุ่น
มาหลายศตวรรษแล้วแต่แรกภูเขานี้เป็นที่เคารพบูชา
ของชนพื้นเมืองเผ่าไอนุซึ่งปัจจุบนยังอยู่ตามหมู่เกาะ
ฮอกไกโด ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ ที่อยู่เหนือสุด ชาวไอนุ
ขนานนามภูเขานี้ตามชื่อเทพธิดา “ฟูช”ผู้เป็น เทพธิดาแห่งอัคคี


3. พรรณนาโวหาร
    วันเพ็ญ พระจันทร์สีนวลจ้าส่องแสงอยู่วงรัศมีสีขาว น้ำขึ้นเต็มฝั่ง นิ่งไม่กระดุกกระดิก แต่เป็นเงาแวววาวเหมือนถาดเงินใบใหญ่ที่ขัดมัน ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนหนึ่งมีต้นลำพูต้นใหญ่

    เสียงน้้าใสไหลเย็นกระเซ็นเซาะ ซัดแก่งเกาะคลื่นเกลียวเลี้ยวซ้ายขวาสุดแนวหินก็ไหลรินตกลงมา สู่ธาราเบื้องล่างอย่างงดงามสายน้้าสวยรวนรินเป็นฟองคลื่น ละอองชื้นสาดไปไกลเกินห้ามต้องแสงทองที่สาดส่องเป็นรุ้งงาม ทุกเมื่อยามน้้าไม่เคยเหือดแห้งไป


4. เทศนาโวหาร
    ทำอะไรก็อย่าทำด้วยความอยากมีอยากเป็น อยากได้นั่นอยากได้นี่ แต่เราทำไปตามหน้าที่ของเรา เรามีหน้าที่อะไรก็ทำหน้าที่นั้นให้สมบูรณ์ ให้เรียบร้อย ไม่ต้องมีความอยากจะได้ อยากจะเป็นก็ทำได้ทำเพราะสำนึกในหน้าที่ มันเป็นเหตุให้กระตุ้นเตือนให้กระทำเพราะความสำนึกว่าเราเกิดเพื่อหน้าที่ หรือคำพูดที่เคยพูดบ่อยๆ ว่า “งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขขณะทำงาน”

    แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์             มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
อันเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด              ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน


5. สาธกโวหาร

         คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้         ย่อมเฒ่าแก่ เกิดโรคโศกสงสาร
 ความตายหนึ่งพึงเห็นเป็นประธาน      หวังนิพพานพ้นทุกข์สุขสบาย

         ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้        เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
อันศีลห้าว่าอย่าทำให้จำตาย                    จะตกอบายภูมิขุมนรก


















ภาพพจน์ในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

ภาพพจน์ในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

         ภาพพจน์ หมายถึง คำ หรือ กลุ่มคำ ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คำ เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและลึกซึ้งขึ้นในใจทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธีการเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลายประเภท แต่ที่สำคัญๆ คือ

1. อุปมา
    การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น" เช่น
                เปรียบเธอเพชรงามน้ำหวานปานน้ำผึ้งเดือนห้า
                โง่งมต่อไปข้างเดียวเหมือนได้ต่อเวลาช้ำแค่ข้ามวัน
                  พยายามฝืนยิ่งเหมือนไร้หนทาง
                  เธอเหมือนกุญแจที่หายเหมือนคนที่ไขประตูให้ฉัน



 2. อุปลักษณ์
     การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คำว่า "คือ" และ "เป็น" เช่น
                 แต่วันนี้เธอคือทุกอย่างในใจฉัน
                 จากกันในวันนี้ แม้เสียใจ แต่รักคือการให้ไป
                 หากเธอเป็นภูเขา ฉันจะเป็นต้นไม้
                 หากเธอเป็นท้องฟ้า ฉันจะเป็นเมฆสีขาว


3. บุคคลวัต
    การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น
                เจ้าไม้ขีดไฟ ก้านน้อยเดียวดายแอบรักดอกทานตะวัน
               โอ้เจ้าหนอนผีเสื้อ ไม่เหลือเวลาตามฝัน
                เป็นแค่หนอนไร้ค่าหลงรักเจ้าช่อดอกไม้ทั้งใจ          
                นกเอี้ยงเลิกนั่งเลี้ยงควาย



4. อติพจน์
    การเปรียบเทียบโดยการกล่าวข้อความที่เกินจริง  เช่น
               แต่จะทำยังไงก็ไม่หยุดรักเธอ
               แต่ว่าหัวใจสว่างได้เพราะเธอ
               แผ่นฟ้าก็ไม่อาจกั้นกลางจากหัวใจ
               จดหมายนี้ฉันเขียนในใจ


5. สัทพจน์ 
    คือการเลียนเสียงทั้งเสียงโรรมชาติและเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น
              แอ๊บๆ เขียดจะนา ร้องยามฟ้าฮ้องหวนๆ
              เสียงตะโพน เท่งติง ติง เท่งป๊ะ เสียงกลองแขก โจ๊ะ จ๊ะ โจ๊ะ โจ๊ะ
              ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย  จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน  (เสียงปี่พระอภัยมณี)
              ตะแล้กแต้กแต้ก จะแหลกแล้วจ้า กระด้งรีบมาแถอะรับข้าวไป (เสียงครกกระเดื่อง)



6. ปฏิพากย์
     คือการนำสิ่งที่มีความขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกัน  เช่น
              รักก่อวิวาทกัน !โอ้ความชังอันน่ารัก
              โลกมนุษย์ยังมีสีดำขาว มีดินดาวร้อนเย็นและเหม็นหอม
              โอ้ความเบาแสนหนัก !
              ขนนกหนัก !ควันผ่องพรรณ



7. นามนัย
     คือ การเปรียบเทียบโดยการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่น หรือลักษณะสำคัญมากล่าวแทนคำที่ใช้เรียก สิ่งนั้นโดยตรง เช่น
            จามจุรี แทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            รุ้ง แทน ความหวัง พลัง กำลังใจ
            หมอก แทน มายา อุปสรรค สิ่งที่สลายตัวรวดเร็ว
            นกพิราบ แทน สันติภาพ
            ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
             ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ






ถาม-ตอบ
1. “สายธาราดั่งนาฬิกาแก้ว  แว่วแว่วจ๊อกจ๊อกเซาะซอกหิน” ข้อความที่ขีดเส้นใต้ใช้ภาพพจน์
ชนิดใด
      ก. สัทพจน์                         
      ข. สัญลักษณ์
      ค. บุคลวัต
      ง. อุปมา


ตอบ : ก   (จ๊อกจ๊อก) เสียงน้ำ

2. ข้อใดใช้ภาพพจน์แบบบุคคลวัต
      ก.  อนงค์นำเคลื่อนเขยื้อนไป    สะบัดสไบวิไลตา
      ข.  สยามจะอยู่มิรู้ชรา    กระเดื่องวิชาวิชัยชโย
      ค.  ยามเกิดเกิดปรีดา    เกิดน้ำตาตื้นตันใจ
      ง.  กล้าแดดจ้ากล้าพายุกล้าต้น   กล้าต้านทนร้อนลมระดมกล้า

ตอบ : ข   (สยามจะอยู่มิรู้ชรา)









วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

พระบรมราโชวาท


ผู้แต่ง  : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ลักษณะคำ : ประพันธ์ ร้อยแก้ว

ที่มาของเรื่อง  : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวทรง
พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.2428 เพื่อพระราชทานแก่ พระเจ้าลูกยาเธอ 
4 พระองค์ เมื่อเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศครั้งทรง
พระเยาว์ คือ
1) กรมพระยาจันทบุรีนฤนาถ (พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์)
    > ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 
    > ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ 
    > ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี 
    > ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติยากร
2) กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์)
    > ทรงวางรากฐานกฎหมายไทยให้ทักเทียมอารยประเทศ 
    > ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม 
    > ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ 
    > ได้รับยกย่องว่าทรงเป็น พระบิดาของวงการกฎหมายไทย 
    > ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน 
3) กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม)
    > ทรงเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรังเศส
    > ทรงดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
    > ทรงเป็นต้นราชสกุล ประวิตร
4) กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช)

   > ทรงวางรากฐานของกองทัพบกไทย 
   > ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก 
   > ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม 
   > ทรงเป็นต้นราชสกุล จิรประวัติ


แนวคิด : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงเล็งเห็นว่า“การศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ” พระองค์จึงทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขา สั่งสอนพระโอรสทุกพระองค์ไม่ให้ถือตัวว่าเป็นเจ้า ใช้จ่ายอย่างประหยัด ขยันหมั่นเพียรศึกษา หาความรู้ ไม่หลงตัวว่าเป็นนักเรียนนอก ไม่ลืมภาษาไทยและความเป็นไทย เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศและถ่ายทอดความรู้นั้นเป็นภาษาไทยให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด แก่ประเทศชาติสืบต่อไป 

เนื้อหา
         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานข้อคิด คำแนะนำ สั่งสอน ให้พระราชโอรสประพฤติปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ดังนี้
          ๑. การไปเรียนในครั้งนี้ให้ตั้งใจไปเพื่อศึกษาวิชาความรู้อย่างเดียว ไม่ควรไปเปิดเผยหรืเผยแพร่เกียรติยศชื่อเสียง ไม่ควรประกาศตนว่าเป็นเจ้า เพราะการไว้ยศนั้นทำให้วางตนลำบาก จะต้องรักษายศศักดิ์ จึงควรประพฤติตนเยี่ยงสามัญชนทั่วไป
          ๒. เงินที่ใช้สอยในการศึกษาเล่าเรียน เป็นเงินพระคลังข้างที่ ทั้งนี้เพราะว่าพระองค์มีพระราชโอรสมาก จึงทรงเห็นว่าการใช้เงินแผ่นดินในการส่งพระราชโอรสไปศึกษาเล่าเรียนจึงทำให้พ้นจากคำครหาทั้งปวงได้
          ๓. ขอให้ตระหนักว่า ถึงจะเกิดมาเป็นลูกของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ก็มิใช่ว่าจะฝักใฝ่แต่ความสบายอย่าง จึงขอให้มีความอุตสาหะใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียน
          ๔. อย่าคิดว่าตนเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน มีอำนาจยิ่งใหญ่ จะมาทำเกะกะระรานไม่เกรงกลัวผู้ใดไม่ได้ พระองค์ทรงปรารถนาให้พระราชโอรสมีความอ่อนน้อม ว่านอนสอนง่าย ให้ประพฤติให้ดีอยู่เสมอ ถ้าทำผิดจะถูกลงโทษทันที
          ๕. เงินทองที่ใช้สอย ขอให้จงประหยัดเขม็ดแขม่ อย่าทำใจโตใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ถ้าใครเป็นหนี้กลับมา พระองค์จะไม่ยอมใช้ให้ หากจะใช้ให้ก็จะต้องได้รับการลงโทษเป็นประกันมั่นใจก่อนว่าจะไม่กลับไปทำอีก
          ๖. วิชาที่ออกไปศึกษาเล่าเรียน ต้องเรียนภาษาให้ได้สองในสาม จากภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมัน ที่สำคัญต้องไม่ลืมภาษาไทย
          ๗. การเล่าเรียนทั้งปวงของพระราชโอรส พระองค์ได้ทรงมอบธุระสิทธิ์ขาดให้แก่ กรมหมื่นเทวะวงษ์โรปการ และมีราชทูตเป็นธุระดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ามีปัญหาหรือต้องการปรึกษาอันใดให้สอบถามได้

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
          ๑. ใช้เทศนาโวหารด้วยสำนวนภาษาง่ายๆ ตรงไปตรงมา เช่น   
“ขอจดหมายคำสั่งตามความประสงค์ให้แก่ลูก บรรดาซึ่งจะให้ออกไปเรียนหนังสือในประเทศยุโรป
จงประพฤติตามโอวาทที่จะกล่าวต่อไปนี้”
    ...การซึ่งจะให้ออกไปเรียนหนังสือครั้งนี้ มีความประสงค์มุ่งหมายแต่จะให้ได้วิชาความรู้อย่างเดียว ไม่มั่นหมายจะให้เป็นเกียรติยศชื่อเสียง...
          - จะทรงโน้มน้าวใจโดยทรงชี้ให้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสียเปรียบเทียบกัน เช่น         
“ถ้าเป็นเจ้านายแล้ว ต้องรักษายศศักดิ์ในกิจการทั้งปวงที่จะทำทุกอย่าง เป็นเครื่องล่อตาล่อหูคนทั้งปวงที่จะพอใจดูพอใจฟัง จะทำอันใดก็แพลกว่าคนสามัญ เพราะเขาถือว่ามั่งมี เป็นการเปลืองทรัพย์ในที่ไม่ควรจะเปลือง เพราะเหตุว่าถึงจะเป็นเจ้าก็ดีเป็นไพร่ก็ดี เมื่ออยู่ในประเทศมิใช่บ้านเมืองของตัวก็ไม่มีอำนาจที่จะทำฤทธิ์เดชอันใดไปผิดกับคนสามัญได้ จะมีประโยชน์อยู่นิดหนึ่งแต่เพียงเข้าที่ประชุมสูงๆได้ แต่ถ้าเป็นลูกผู้มีตระกูลก็จะเข้าที่ประชุมสูงๆได้เท่ากันกับเป็นเจ้านั่นเอง”
         - การเปรียบเทียบความประพฤติของคนที่อยู่นิ่งๆโดยไม่ทำการสิ่งใด เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ฟังเกิดแรงบันดาลใจ มีมานะที่จะหมั่นศึกษาหาความรู้ เช่น     
“ถ้าจะถือว้าเกิดมาเป็นเจ้านายแล้วนิ่งๆอยู่จนตลอดชีวิตก็สบายดังนั้นจะไม่ผิดอันใดกับสัตว์ดิรัจฉานอย่างเลวนัก”
         - การใช้ภาพพจน์ เปรียบเทียบให้เกิดจินตนภาพ เช่น    
“ชีวิตสังขารของมนุษย์ไม่ยั่งยืนยืดยาวเหมือนเหล็กเหมือนศิลา ถึงโดยว่าจะมีพ่ออยู่ในขณะหนึ่ง ก็คงจะมีเวลาที่ไม่มีได้ขณะหนึ่งเป็นแน่แท้ ถ้าประพฤติความชั่วเสียแต่ในเวลามีพ่ออยู่แล้ว  ความชั่วนั้นควรปรากฏเป็นโทษติดตัวเหมือนเงาตามหลังอยู่ไม่ขาด”

คุณค่าด้านสังคม
       ๑. สะท้อนให้เห็นว่าสมัยแต่เดิมนั้นบุตรของท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ทั้งหลายจะหาช่องทางรับ   ราชการยากเพราะเป็นผู้มีวาสนาก็จะต้องแต่งตั้งให้รับตำแหน่งใหญ่โตสมฐานะ แต่ถึงตำแหน่งจะใหญ่โตความรู้ความสามารถก็ยังต้องถึงด้วย ดังคำสอนในพระบรมราโชวาทว่า
            “เจ้านายจะเป็นผู้ได้ทำราชการ มีชื่อเสียงดีก็อาศัยได้แต่สติปัญญาความรู้และความเพียรของตัว เพราะฉะนั้นจงอุตสาหะเล่าเรียนโดยความเพียรอย่างยิ่ง”
             ๒. สมัยก่อนการให้ความรู้นั้นถือว่ามากกว่าทรัพย์สินเงินทอง เพราะเป็นของติดตัวไม่เสื่อมสูญ ดังคำสอนในพระบรมราโชวาท
            “การซึ่งให้มีโอกาสและให้ทุนทรัพย์ซึ่งจะได้เล่าเรียนวิชานี้เป็นหลักทรัพย์มรดกอันประเสริฐดีกว่าทรัพย์สินเงินทองอื่นๆ ด้วยเป็นของติดตัวอยู่ได้ไม่มีอันตรายที่จะเสื่อมสูญ เหมือนหนึ่งได้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ลูกเสมอๆ กันทุกคน”
           ๓. สะท้อนให้เห็นว่าฝรั่งแต่ก่อนนั้นมั่งมี มีเงินใช้เยอะๆนั้นมาจากการได้ดอกเบี้ย สมัยก่อนนั้นจึงสอนบุตรไม่ให้อวดมั่งอวดมีทำเทียบเทียมผู้ดีฝรั่ง ให้ใช้เงินอย่างประหยัด มีเงินใช้เฉพาะแต่ที่จะรักษาความสุขของตนพอสมควร ดังคำสอนในพระบรมราโชวาท
            “ตั้งใจอยู่เสมอว่าตัวเป็นคนจน มีเงินใช้มีเงินใช้เฉพาะแต่ที่จะรักษาความสุขของตนพอสมควรดัง ไม่มั้งมีเหมือนผู้ดีฝรั่งที่เขาสืบตระกูลกันมาได้ด้วยดอกเบี้ย อย่าอวดมั่งอวดมีทำเทียบเทียบเขาให้ฟุ้งซ่านไปเป็นอันขาด”
        ๔. สะท้อนให้เห็นว่าวิชาความรู้ในสมัยก่อนนั้นยังไม่รุ่งเรือง เหมือนสมัยนี้ มาจากการที่ไม่ได้คบค้าสมาคมกับชาติอื่นมาช้านาน ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียน จึงต้องไปเรียนภาษาอื่นเพื่อนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังที่ตรัสไว้ในพระบรมราโชวาทว่า
            “จงเข้าใจว่าภาษาต่างประเทศนั้นเป็นแต่พื้นของความรู้ เพราะวิชาความรู้ในหนังสือไทยที่มีผู้แต่งไว้นั้นเป็นแต่ของเก่ามีน้อย เนื่องจากมิได้สมาคมกับชาติอื่นมาช้านาน ฝ่ายหนังสือไทยจึงไม่พอที่จะเล่าเรียนจึงต้องไปเรียนภาษาอื่น แล้วเอากลับลงมาใช้เป็นภาไทยทั้งสิ้น

ข้อคิดที่ได้รับ
     ๑.คนเราควรอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความเพียร เพื่อนำ ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
     ๒.ให้เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย อย่ามีทิฐิมานะในทางที่ผิด          
     ๓.รู้จั้กใช้เงินอย่างคุ้มค่าโดยเฉพาะ          
     ๔.ต้องศึกษาเล่าเรียนด้วยวิริยะอุตสาหะ          
     ๕.ควรรักภาษาไทย เพราะภาษาไทยแสดงถึงความเป็นชาติและเอกราชของไทย
     ๖.เราไม่ควรถือยศศักดิ์ เพราะจะทำให้เข้าสังคมลำบากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย


เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
๑. ขุนนางฝรั่ง
ขุนนางหรือเจ้านายฝรั่ง (อังกฤษ) มีบรรดาศักดิ์เรียงจากสูงไปหาต่ำ ดังนี้
   ๑. Duke เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล สามารถนำชื่อตำแหน่งวางไว้หน้านามโดยตรง
   ๒. Marquis เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล สามารถนำชื่อตำแหน่งวางไว้หน้านามโดยตรง
   ๓. Earl เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล มักเรียกคำนำหน้าว่า Lord
   ๔. Viscount เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล มักเรียกคำนำหน้าว่า Lord
   ๕. Baron เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล มักเรียกคำนำหน้าว่า Lord
   ๖. Baronet เป็นตำแหน่งที่สืบทอดตามตระกูล มักเรียกคำนำหน้าว่า Sir
   ๗. Knight เป็นตำแหน่งเฉพาะบุคคล มีคำนำหน้าว่า Sir

๒. เชื้อพระวงศ์ 
        กรณีที่เป็นเชื้อพระวงศ์ จะใช้คำนำหน้า ได้แก่ 
           ๑. His (Her) Royal Highness Prince (Princess) ใช้กับพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า พระเจ้าหลานเธอที่เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 
           ๒. His (Her) Highness Prince (Princess) ใช้กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า His (Her) Serenc Highness Prince (Princess)ใช้กับหม่อมเจ้า



วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562


บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้นามแฝงว่าพระขรรค์เพชร
พระองค์ทรงผูกเรื่องและทรงเรียบเรียงเอง
 
รูปแบบ : เรื่องเห็นแก่ลูกแต่งเป็นบทละครพูด
เป็นเรื่องขนาดสั้น มี 1 องค์

ลักษณะการแต่ง
            รัชกาลที่6 ทรงผูกเรื่องอย่างรัดกุมและดำเนินเรื่องโดยใช้บทสนทนาของตัวละครโต้ตอบกัน ทำให้ทราบเรื่องราวที่ดำเนินไป และทราบเบื้องหลังของตัวละครแต่ละตัว นอกจากนี้ ยังทรงบรรยายกริยาท่าทางของตัวละครแต่ละตัวไว้ในวงเล็บ เพื่อช่วยให้นักแสดง แสดงตามบทได้สะดวกและสมบทบาทยิ่งขึ้น ภาษาที่ใช้ในบทละครนี้ ใช้คำพูดง่ายๆแต่ให้ความหมายคมคายลึกซึ้ง แม้ว่าบางคำที่มีใช้ในอดีตสมัย 80-90ปีก่อนแต่ไม่มีใช้ในปัจจุบัน ผู้อ่านก็ยังพอเดาความหมายได้

นำเรื่อง
          เห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่า พระขรรค์เพชรเป็นบทละครพูดขนาดสั้นเพียงหนึ่งองก์ สันนิษฐานว่าเป็นบทละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง

เนื้อเรื่องย่อ
          นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆเนื่องจากไม่ไว้ใจเพราะเห็นสภาพของนายล้ำที่แต่งตัวปอนๆ ท่าทางดื่มเหล้าจัดจนเมื่อพระยาภักดีกลับมาบ้านได้พบนายล้ำจึงทำให้ทราบเรื่องราวของคนทั้งสอง จากการสนทนาโต้ตอบกันว่า เดิมนายล้ำเป็นเพื่อนกับพระยาภักดี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ส่วน นายล้ำเป็นทิพเดชะ นายล้ำมีภรรยา คือแม่นวล มีลูกสาวคือ แม่ลออ เมื่อแม่ลออมีอายุ 2 ขวบ เศษ นายล้ำก็ถูกจำคุกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม่นวลเลี้ยงดูลูกสาวมาตามลำพัง ก่อนตายจึงยก ลูกสาวให้เป็นลูกบุญธรรมของพระยาภักดี นายล้ำจำคุกอยู่ 10 ปี ก็ออกจากคุกไปร่วมค้าฝิ่นอยู่ กับจีนกิมจีนเง็ก ที่พิษณุโลก พอถูกตำรวจจับได้ก็แก้ข้อกล่าวหาเอาตัวรอดฝ่ายเดียว ต่อมาก็ ตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว จึงตั้งใจจะมาอยู่กับแม่ลออ ซึ่งมีอายุ 17 ปี กำลังจะแต่งงาน กับนายทองคำ แต่พระยาภักดีพยายามชี้แจงให้นายล้ำเห็นแก่ลูกสาวไม่ต้องการให้ถูกคนอื่น รังเกียจว่ามีพ่อเป็นคนขี้คุกและฉ้อโกง จนในที่สุดเสนอเงินให้ 100 ชั่ง แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเมื่อ แม่ลออกลับมาถึง นายล้ำจึงได้รู้จักกับแม่ลออและได้เห็นประจักษ์ว่าตนเลวเกินกว่าจะเป็นพ่อ ของแม่ลออ ซึ่งหล่อนได้วาดภาพพ่อไว้ในใจว่า พ่อเป็นคนดีที่หาที่ติไม่ได้เลย

 ศิลปะการประพันธ์
๑. ใช้ภาษาโบราณ แต่ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น ไม่รับประทาน” (ไม่รับประทาน คือ ไม่เอา)
๒. ใช้คำพูดที่สั้น แต่แฝงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละครไว้กระชับ เช่น
                 พระยาภักดี. ค้าอะไร ?
                 นายล้ำ. ฝิ่น.

   ๓. ใช้บทสนทนาแสดงบรรยากาศ เหตุการณ์ และอารมณ์ของตัวละคร เช่น
                 นายล้ำ. ผมไม่เอาเงินของคุณ.
                 พระยาภักดี. ถ้ายังงั้นก็ไปให้พ้นบ้านฉัน, ไป !

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑) การใช้บทสนทนาที่เหมาะสมกับสถานภาพของตัวละคร
กวีสามารถสร้างบทสนทนาที่เหมาะสมกับสถานภาพของตัวละครที่กล่าวบทสนทนานั้นตำแหน่งทางสังคม ยศถาบรรดาศักดิ์ รวมไปถึงอายุของตัวละคร

๒) การใช้บทสนทนาที่สอดคล้องกับลักษณะนิสัยและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร
บทละครพูดดำเนินเรื่องผ่านบทสนทนาเป็นหลัก ทำให้การสื่อสารเรื่องราวรวมไปถึงลักษณะของตัวละครต้องสื่อผ่านบทสนทนานั้น โดยกวีสร้างบทสนทนาที่ช่วยสื่อถึงนิสัยและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้เป็นอย่างดี

๓) การใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายลึกซึ้ง
ในบทละครนี้มีการใช้ถ้อยคำที่สั้นกระชับ แต่กินความมาก สามารถสื่อความหมายได้ลึกซึ้ง ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ชมเข้าใจเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น

๔) การสื่อความหมายโดยนัย
หมายถึง การสื่อความหมายออกมาโดยไม่แสดงออกมาตรงๆ แต่สื่อผ่านคำพูดที่สื่อเป็นนัยให้ทราบ

๕) การใช้สำนวน
การใช้สำนวนทำให้บทสนทนาสื่อความหมายได้อย่างกินความกว้างขวางมากขึ้น และยังช่วยนำเสนอความคิดบางอย่างของตัวละครได้อีกด้วย

คุณค่าด้านสังคมและสะท้อนวิถีไทย ดังนี้
๑) ธรรมเนียมการต้อนรับแขก
ทุกครอบครัวในสังคมไทยย่อมได้รับการปลูกฝังจากคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เสมอว่า เป็นธรรมเนียมไทยแต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับการต้อนรับแขกด้วยความเต็มใจและเลี้ยงรับรองอย่างดีที่สุดถือเป็นมารยาททางสังคมประการหนึ่ง และผู้ที่ได้รับการต้อนรับย่อมประทับใจและกล่าวถึงในความมีน้ำใจของเจ้าบ้าน

๒) การกำหนดค่าและรูปแบบของเงิน
ในระบบเศรษฐกิจไทยจะใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน ต่อมาเมื่อสังคมมีโครงสร้างที่ซับซ้อน มีระบบเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้น ระบบเงินตราจึงเข้ามาเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน

๓) ค่านิยมการนับถือบุคคลที่เพียบพร้อมทั้งรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติ
ได้สะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนไทยที่นับถือบุคคลจากรูปลักษณ์ภายนอกโดยมิได้มองถึงคุณธรรมความดีของบุคคลผู้นั้น บุคคลใดมีความประพฤติด่างพร้อย ทำให้เสียชื่อเสียงเกียรติยศ ไม่ว่าจะเคยเป็นคนดีหรือเป็นคนเลวมาก่อนก็ตาม เมื่อชีวิตมีมลทินก็ทำให้เป็นที่รังเกียจของสังคม

๔) แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมของมนุษย์
มนุษย์ทุกคนย่อมเห็นแก่ตัวเป็นธรรมดา แม้กระทั่งนายล้ำเองยังต้องต่อสู้กับความรู้สึกเห็นแก่ตัวหรือเห็นแก่ลูกของตนเองและในที่สุดอำนาจฝ่ายสูงก็ชนะ นายล้ำยอมจากไปผจญกับความยากลำบากเพราะเห็นแก่ลูกมากกว่า จึงเป็นเรื่องที่น่ายกย่องที่เขาเคยทำผิดแต่ก็สำนึกตัวได้

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
๑. การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังจะเห็นได้จากผลทุจริตของนายล้ำที่ต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลา ๑๐ ปี
๒. ความรักระหว่างพ่อลูกเป็นความรักบริสุทธิ์ไม่หวังผล ดังที่นายล้ำล้มเลิกความเห็นแก่ตัวของตนเอง เมื่อได้รับรู้ว่าแม่ลออมีความภาคภูมิใจในตัวบิดาผู้ให้กำเนิดอย่างไร
๓. ความรักบริสุทธิ์สามารถเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลอื่นได้ ตัวอย่างเช่นความรักของพระยาภักดีนฤนาถที่มีต่อแม่ลออ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขของตนเอง

การนำไปใช้ในชีวิตจริง
๑. การหลงในอบายและการทำกรรมชั่วทั้งปวงล้วนนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม
๒. การรู้ผิดชอบชั่วดีในการกระทำของตนจะช่วยให้ครอบครัวปกติสุขไร้ซึ่งปัญหา

สรุป
บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ที่แสดงถึงความรักอันบริสุทธิ์ระหว่างพ่อและลูกทำให้รู้ว่าไม่มีความรักใดบริสุทธิ์เท่าความรักตามธรรมชาติที่พ่อมอบให้แก่ลูก


พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
 
ผู้แต่ง : พระสุนทรโวหาร (ภู่)
ลักษณะการประพันธ์ : พระอภัยมณีแต่งด้วย
                                      กลอนสุภาพในลักษณะนิทาน
ที่มาของเรื่อง : สุนทรภู่ผูกเรื่องพระอภัยมณีขึ้นจากการฟังคำบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของบุคคลในสังคมผสมผสานกับจินตนาการของตนเอง
จุดมุ่งหมายในการประพันธ์ : สุนทรภู่แต่งพระอภัยมณีเพื่อขายเลี้ยงชีพในยามที่ตกยากอยู่ในคุกแต่เมื่อพ้นโทษแล้วก็แต่งเพื่อถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณและกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

เนื้อเรื่องย่อ
ความเดิมตอนต้นเรื่อง






พระอภัยมณีและศรีสุวรรณพระอนุชาถูกขับออกมาจากเมืองรัตนาของท้าวสุทัศน์พระบิดา เนื่องด้วยท้าวสุทัศน์ทรงเห็นว่าวิชาปี่ของพระอภัยมณีและวิชากระบี่กระบองของศรีสุวรรณเป็นวิชาชั้นเลว ไม่มีประโยชน์ในการปกครอง พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเดินทางมาพบ ๓ พราหมณ์ คือ วิเชียร โมรา สานน และได้เป่าปี่ให้ฟังจนทั้งหมดหลับไป นางผีเสื้อสมุทรผ่านมาและพอใจในเสียงปี่จึงได้ลักพาพระอภัยมณีไปไว้ยังถ้ำแล้วแปลงกายเป็นสาวงามมาปรนนิบัติ พระอภัยมณีทราบแต่ทำอะไรไม่ได้จึงจำใจอยู่กินกับนางผีเสื้อ
ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
           พระอภัยมณีอยู่กับนางผีเสื้อสมุทรในถ้ำจนมีพระโอรสชื่อว่าสินสมุทร        สินสมุทรมีมีลักษณะผสมระหว่างพระอภัยมณีและนางผีเสื้อสมุทรดังความว่า
           ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช           แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย
            ทรงกำลังดังพระยาคชาพลาย                           มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา

พระอภัยมณีได้เลี้ยงและถ่ายทอดความรู้ที่พระองค์มีให้กับสินสมุทรจนหมดและมอบของสำคัญไว้ให้ คือ พระธำมรงค์และผ้าคาดเอว วันหนึ่งเมื่อนางผีเสื้อสมุทรออกไปหาอาหาร ด้วยความซุกซนสินสมุทรได้ทดลองผลักหินปากถ้ำจนเปิดแล้วออกไปเที่ยวเล่นในทะเล สินสมุทรพบเงือกชราแต่ไม่รู้จักว่าคืออะไรจึงนำเงือกกลับไปให้พระอภัยมณีทอดพระเนตร พระอภัยมณีเห็นดังนั้นจึงเล่าความจริงให้สินสมุทรฟังทั้งหมด สินสมุทรทราบความแล้วก็เสียใจเป็นอันมาก เงือกฟังแล้วได้อ้อนวอนให้พระอภัยมณีสั่งให้สินสมุทรปล่อยตนไปเสียและให้สัญญาว่าจะพาพระอภัยมณีหนีพึ่งพระโยคีที่เกาะแก้วพิสดารซึ่งอยู่ห่างออกไปราว ๑๐๐ โยชน์ เงือกชราบอกว่าการไปที่เกาะแก้วพิสดารนั้นตนต้องใช้เวลาถึง ๗ วัน ว่ายน้ำไปในมหาสมุทรแต่กลัวนางผีเสื้อสมุทรจะตามทันเพราะนางผีเสื้อสมุทรนั้นมีพละกำลังมากเมื่ออยู่ในทะเลซึ่งใช้เวลาเพียง ๓ – ๔ วันก็ไปถึงเกาะแล้ว เงือกชราแนะให้พระอภัยมณีทำอุบายลวงนางผีเสื้อสมุทรเพื่อจะได้มีเวลาในการหลบหนี
ตกกลางคืนในวันเดียวกัน นางผีเสื้อสมุทรเกิดฝันร้ายว่ามีเทวดามาควักเอานางทั้งสองออกแล้วเหาะหายไป นางตกใจตื่นแล้วเล่าความฝันนั้นให้พระอภัยมณีฟังทั้งหมด พระอภัยมณีเห็นเป็นโอกาสดีจึงทำนายฝันไปว่านางนั้นจะมีเคราะห์ร้ายอาจถึงแก่ชีวิต
และแนะนำให้นางไปบำเพ็ญศีลอยู่บนเขา ๓ วัน เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และห้ามกินเนื้อสัตว์เป็นอันขาด นางผีเสื้อหลงกลพระอภัยมณี สินสมุทรทราบความโดยตลอด       ก็เสียใจจนพระอภัยมณีต้องห้าม ดังความว่า
                    สินสมุทรสุดแสนสงสารแม่                ด้วยรู้แน่ว่าบิดาจะพาหนี
                    ให้ห่วงหลังกังวลด้วยชนนี                 เจ้าโศกีกราบก้มบังคมคัล
                    บิดาดูรู้แจ้งจึงแกล้งห้าม                     จะวอนตามเขาไปไยในไพรสัณฑ์
                    อยู่เป่าปี่ตีเกราะเสนาะครัน                 แล้วรับขวัญลูกน้อยกลอยฤทัย
พระอภัยมณีและสินสมุทรได้หนีไปกับครอบครัวเงือก เมื่อครบ ๓ วัน นางผีเสื้อสมุทรกลับมาไม่พบใครจึงออกตระเวนทะเลตามหาด้วยร่างเนรมิตเป็นยักษ์แล้วเรียกภูตผีในทะเลมาถามจนได้ความและตามพระอภัยมณีไปทันภายใน ๓ วัน สินสมุทรพยายามห้ามแล้วแต่นางผีเสื้อสมุทรไม่ฟัง สินสมุทรจึงหลอกล่อให้มารดาหลงทางเพื่อให้เงือกลูกสาวพาพระอภัยมณีหนีไปให้ถึงเกาะแก้วพิสดาร

เงือกชราสองผัวเมียถูกนางผีเสื้อฆ่าตายซึ่งในขณะเดียวกันพระอภัยมณี            สินสมุทรและเงือกสาวได้หนีขึ้นเกาะแก้วพิสดารทันพระโยคีออกมาห้ามปรามนางผีเสื้อสมุทรแต่นางไม่ฟังและต่อว่าย้อนกลับมาพระโยคีจึงเสกทรายปกป้องเกาะไว้เพื่อไม่ให้นางผีเสื้อสมุทรเข้ามาได้

ศิลปะการประพันธ์
๑. มีความไพเราะ มีสัมผัสในเกือบทุกวรรค เช่น
นิจจาเอ๋ยเคยอยู่เป็นคู่ชื่น               ทุกวันคืนค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง

๒. มีการสรรคำที่โดดเด่น สื่อความหมายได้กินใจ เช่น
แม้นสิ้นสูญบุญนางในปางนี้              ไม่มีที่พึ่งพาจะอาศัย
จะกอดศพซบหน้าโศกาลัย                   ระกำใจว่าจะม้วยไปด้วยกัน

๓. ใช้ภาษาพูดทั่วไป ทำให้อ่านเข้าใจง่าย เช่น
แล้วร้องถามตามประสาเป็นทารก        นี่สัตว์บกหรือสัตว์น้ำดำหนักหนา
โจนกระโจมโครมครามตามเรามา         จะเล่นข้าท่าไรจะใคร่รู้

๔. ใช้คำอุปมาเพื่อให้ภาพชัดเจน เช่น
ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช         แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุริย์ฉาย

๕. ใช้คำพรรณนาเพื่อสื่อความเคลื่อนไหว เช่น
ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน                 บ้างผุดพ่นฟองน้ำบ้างดำจร

๖. ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น
ลงกลิ้งเกลือกเสือกกายร้องไห้โร่              เสียงโฮโฮดังก้องห้องคูหา

๗. บรรยายเหตุการณ์ได้เห็นภาพและสะเทือนอารมณ์ เช่น
เสียแรงรักหนักหนาอุตส่าห์ถนอม             สู้อดออมสารพัดไม่ขัดขืน
          ช่างกระไรใจจืดไม่ยืดยืน                    นางสะอื้นอ้าปากจนรากเรอ


ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
๑. ความรักควรมีสติ ไม่ควรใช้ความหลงเพราะจะทำให้รักนั้นย้อนกลับมาทำร้ายเช่นเดียวกับนางผีเสื้อสมุทร
๒. เด็กต้องมีความเคารพผู้ใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการที่พระอภัยมณีสอนให้สินสมุทรขอขมาเงือกชราก่อนจะพาขึ้นบ่าหนีไป
๓. คนเราควรรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป
 ากนิสัยที่แท้จริง ไม่ใช่ภาพลักษณ์ เพราะภาพลักษณ์นั้นไม่จีรังถาวร
๒. การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ควรต่างคนต่างอยู่โดยปราศจากน้ำใจ

คุณค่าทางอารมณ์
ในที่นี้จะยกตัวอย่างรสทั้ง 4 ดังนี้
1. เสาวรจนี บทชมความงาม เช่น ตอนชมโฉมศรีสุวรรณ เมื่อปลอมตัวเป็นพราหมณ์เข้าเมือง รมจักรว่า
ฝ่ายทั้งสี่พี่เลี้ยงเมียงชม้อย                   เห็นพราหมณ์น้อยโสภาจะหาไหน
ดูผิวเหลืองเรืองรองทองอุไร                งามวิไลแลเล่ห์เทวดา
ขนงเนตรเกศกรรณและกรแก้ม           แลแฉล้มน่ารักเป็นนักหนา
พิศวงหลงลืมกระพริบตา                    เสน่หาปั่นปวนรัญจวนใจ

2. นารีปาโมทย์ บทเกรี้ยวพาราสี เช่น ตอนศรีสุวรรณสลักใบตองอ่อนเป็นสารรักถึง นางเกษราว่า
เผอิญให้โฉมงามทรามสวาท               มาประพาสชมพรรณบุปผา
พี่ยลยอดเยาวเรศเกษรา                      ช่างโสภานิ่มน้องละอองนวล
ประไพพร้อมนิ่มน้อยกลอยสวาท       ดังนางในไกรลาสมาเล่นสวน
เสด็จกลับลับไปให้รัญจวน                  เฝ้าอักอ่วนอาวรณ์ร้อนฤทัย

3. พิโรธวาทัง บทโกรธ หรือตัดพ้อต่อว่า เช่น ตอนพระโยคีโกรธที่นางผีเสื้อสมุทร กล่าวหาว่าไม่อยู่ในศีล ว่า
พระโยคีชี้หน้าว่าอุเหม่                         ยังโว้เว้วุ่นวายอีตายโหง
เพราะหวงผัวมัวเมาเฝ้าตะโกรง           ว่ากูโกงมึงก็ตกนรกเอง
อียักษาตาโตโมโหมาก                          รูปก็กากปากก็เปราะไม่เหมาะเหมง
นมสองข้างอย่างกระโปรงดูโตงเตง     ผัวของเองเขาระอาไม่น่าชม

4. สัลลาปังคพิไสย คือบทคร่ำครวญ หรือโศกเศร้า เช่น ตอนสุดสาครรำพันถึงมารดา ตอนจากไปตามหาพ่อว่า
โอ้สงสารมารดานิจจาเอ๋ย                     เคยชมเชยลูกยาอัชฌาสัย
น้ำนมแม่แต่ละข้างช่างกระไร              ลูกเคยรับประทานทั้งหวานมัน
โอ้จากมาน่าเสียดายเมื่อภายหลัง          จะย้อยพรั่งฟูมนองทั้งสองถัน
ลูกยิ่งอยากมากมายเสียดายครัน           สะอื้นอั้นอดนมตรมฤทัย




ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น             ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายควา...