วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ร.5

           โคลงภาพพระราชพงศาวดารเกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)  ทรงให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพ  และให้มีโคลงบอกเรื่องพระราชพงศาวดารที่เขียนรูปภาพติดประจำทุกกรอบ  รูปใหญ่  ๖ บท  รูปเล็ก ๔ บท  มีทั้งหมด ๙๒ ภาพ  โคลงที่แต่งมีจำนวนทั้งหมด ๓๗๖ บท  สร้างเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐  ทั้งยังได้พิมพ์บทโคลงเป็นเล่ม  พระราชทานเป็นของแจกในงานพระเมรุคราวนั้นด้วย  คร้ันเสร็จงานพระเมรุแล้วจึงโปรดให้แบ่งรูปภาพ  และเรื่องพระราชพงศาวดารไปประดับไว้ ณ พระที่นั่งอัมพรวินิจฉัยบ้าง  ส่งไปประดับพระที่นั่งวโรภาสพิมาน ณ พระราชวังบางปะอินบ้าง


 จุดประสงค์ในการแต่ง 
1.เพื่อสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระมหากษตัริย์ไทยในสมัยกรุงศรีอยธุยาและกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศอย่างใหญ่หลวงในด้านต่าง ๆ 
2.เพื่อเชิดชูเกียรติหมู่เสวกามาตย์ที่มีความกล้าหาญ สุจริต และกตัญญูต่อแผ่นดิน 
3.เพื่อส่งเสริมและเชิดชูการฝีมือของงานช่างไทย 
4.เพื่อส่งเสริมและเชิดชู ศิลปะการประพันธ์อย่างไทย


รูปที่ ๑๐ แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  ภาพพระสุริโยทัยขาดคอช้าง


เนื้อเรื่องย่อ
          พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพประชิดติดเมือง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงยกพลออกไปออกสู้รบสมเด็จพระสุริโยทัยพระมเหสีทรงเครื่องพิชัยสงคราม ทรงช้าง โดยเสด็จด้วย เมื่อช้างพระที่นั่งของพระมหาจักรพรรดิไปประจันหน้าและชนกับช้างทรงของพระเจ้าแปรทัพหน้า ช้างของพระมหาจักรพรรดิเสียทีกลับหลังวิ่งเตลิด พระเจ้าแปรก็ขับช้างตาม พระสุริโยทัยทรงไสช้างเข้าขัดขวาง พระเจ้าแปรจึงใช้พระแสงของ้าวฟันพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างนั่นเอง

ลักษณะคำประพันธ์  : โคลงสี่สุภาพ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โคลงสี่สุภาพ
                                          บุเรงนองนามราชเจ้า                    จอมรา มัญเฮย
                         ยกพยุหแสนยา                                              ยิ่งแกล้ว
                         มอญม่านประมวลมา                                      สามสิบ หมื่นแฮ
                         ถึงอยุธเยศแล้ว                                              หยุดใกล้นครา
ถอดคำประพันธ์ :  บุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพอันมีแสนยานุภาพกล้าหาญยิ่ง ทั้งทัพมอญและทัพพม่ารวมแล้วว่าสามแสนคน เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วหยุดพักนอกเมือง

                                    พระมหาจักรพรรดิเผ้า                         ภูวดล สยามเฮย
                         วางค่ายรายรี้พล                                             เพียบหล้า
                         ดำริจักใคร่ยล                                                 แรงศึก
                         ยกนิกรทัพกล้า                                               ออกตั้งกลางสมร
ถอดคำประพันธ์ :  พระมหาจักรพรรดิกษัตริย์แห่งกรุงสยามทรงวางกำลังพลมากมายเตรียมรับศึก มีพระราชดำริจะเสด็จออกไปดูกำลังข้าศึกจึงทรงยกองทัพออกไปตั้งกลางสนามรบ

                                    บังอรอัครเรศผู้                                   พิสมัย ท่านนา
                         นามพระสุริโยทัย                                           ออกอ้าง
                         ทรงเครื่องยุทธพิไชย                                     เช่นอุป ราชแฮ
                         เถลิงคชาธารคว้าง                                         ควบเข้าขบวนไคล
ถอดคำประพันธ์ :   พระมเหสีผู้ทรงเป็นผู้พอพระราชหฤทัยของพระองค์ ทรงพระนามว่าพระสุริโยทัย ทรงเครื่องนักรบเหมือนพระมหาอุปราช ทรงช้างพระที่นั่งควบเข้ากระบวนทัพตามเสด็จด้วย

                                     พลไกรกองน่าเร้า                              โรมรัน กันเฮย
                         ช้างพระเจ้าแปรประจัญ                                  คชไท้
                         สารทรงซวดเซผัน                                         หลังแล่น เตลิดแฮ
                         เตลงขับคชไล่ใกล้                                        หวิดท้ายคชาธาร
ถอดคำประพันธ์ :  ทัพหน้ายกพลเข้าสู้รบกัน ช้างของพระเจ้าแปรเข้าต่อสู้กับช้างของพระมหาจักรพรรดิ

                                     นงคราญองค์เอกแก้ว                       กระษัตรีย์
                         มานมนัสกัตเวที                                           ยิ่งล้ำ
                         เกรงพระราชสามี                                         มลายพระ ชนม์เฮย
                         ขับคเชนทรเข่นค้ำ                                      สะอึกสู้ดัสกร
ถอดคำประพันธ์ :  องค์อัครมเหสีมีน้ำพระทัยกอรปด้วยความกตัญญูกตเวทียิ่ง ทรงวิตกว่าพระสวามีจะสิ้นประชนม์จึงทรงขับช้างพระที่นั่งเข้าต่อสู้กับศัตรู

                                     ขุนมอญร่อนง้าวฟาด                       ฉาดฉะ
                         ขาดแล่งตราบอุระ                                       หรุบดิ้น
                         โอรสรีบกันพระ                                           ศพสู่ นครแฮ
                          สูญชีพไป่สูญสิ้น                                        พจน์ผู้สรรเสริญ
ถอดคำประพันธ์ :  พระเจ้าแปรฟาดพระแสงของ้าวใส่พระอุระขาดสะพายแหล่งสิ้นพระชนม์พระราชโอรสจึงทรงกันพระศพกลับคืนกรุงศรีอยุธยา แม้นพระองค์จะสิ้นพระชนม์ลงแล้วแต่ยังไม่สิ้นผู้สรรเสริญ

ข้อคิดที่จากเรื่อง
           ๑.  ความรักทำให้คนมีความกล้าหาญและเสียสละ
         ๒.  ที่ใดมีสงคราม ที่นั่นมีความสูญเสีย
         ๓.  ความจงรักภักดีต่อสามีเป็นคุณสมบัติที่ดีของภรรยาที่ควรยึดถือปฏิบัติ
         ๔.  บุรุษหรือสตรีย่อมมีความกล้าหาญเหมือนกัน
         ๕.  ความกล้าหาญและความเสียสละเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง


รูปที่ ๕๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ  พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต


เนื้อเรื่องย่อ
          เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือประพาสปากน้ำ  ได้ประทับเรื่อเอกชัยเข้ามาถึงตำบลโคกขามลำคลองลักษณะคดเคี้ยวนายท้ายเรือด้วยความลำบาก ทำให้โขนเรือหัก พันท้ายนรสิงห์จึงรับผิดชอบขอให้พระเจ้าประหารชีวิตตน เพื่อเอาโขนเรือและศีรษะมาเซ่นสรวงทำศาลตามประเพณี สมเด็จพระเจ้าเสือพระราชทานโทษให้ แต่ทรงโปรดให้ปั้นรูปพันท้ายนรสิงห์ขึ้นมาฟันคอรูปแทน พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอม กราบทูลรบเร้าให้พระเจ้าเสือประหารชีวิตตนให้ได้ พระเจ้าเสือก้อต้องจำพระทัยสังเพชฌฆาตประหารชีวิต พันท้าย นรสิงห์ แล้วให้นำศีรษะของพันท้ายทรสิงห์กับโขนเรือเซ่นไว้ที่ศาล เพื่อเป็นที่เตือนใจคนทั่วไป

ลักษณะคำประพันธ์  : โคลงสี่สุภาพ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โคลงสี่สุภาพ
                              
                                         สรรเพชญที่แปดเจ้า                       อยุธยา
                                 เสด็จประพาสทรงปลา                       ปากน้ำ
                                 ล่องเรือเอกไชยมา                               ถึงโคก ขามพ่อ
                                 คลองคดโขนเรือค้ำ                       ขัดไม้หักสลาย
ถอดคำประพันธ์ :  พระเจ้าสรรเพชญ์ที่แปดกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จประพาสทรงตกปลาที่ปากน้ำโดยล่องเรือพระที่นั่งเอกไชยมาถึงตำบลโคกขามลำคลองที่คดเคี้ยวทำให้หัวเรือพระที่นั่งขัดเข้ากับกิ่งไม้หักลง
                                    พันท้ายตกประหม่าสิ้น                       สติคิด
                                 โดดจากเรือทูลอุทิศ                       โทษร้อง
                                 พันท้ายนรสิงห์ผิด                               บทฆ่า เสียเทอญ
                                 หัวกับโขนเรือต้อง                               คู่เส้นทำศาล
ถอดคำประพันธ์ :  พันท้ายนรสิงห์ตกประหม่าจนขาดสติคิดทรงโดดลงจากเรือทูลขอพระราชทานโทษประหารชีวิตตามความผิดในกฎมนเทียรบาล ให้ตัดศีรษะตั้งคู่กับโขนเรือไว้ที่ศาลเพียงตา
                                     ภูบาลบำเหน็จให้               โทษถนอม ใจนอ
                                 พันไม่ยอมอยู่ยอม                       มอดม้วย
                                 พระโปรดเปลี่ยนโทษปลอม               ฟันรูป แทนพ่อ
                                 พันกราบทูลทัดด้วย                       ท่านทิ้งประเพณี
ถอดคำประพันธ์ :  พระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชทานอภัยโทษให้แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมรับจะยอมตายแม้นพระองค์จะโปรดให้ปั้นรูปพันท้ายนรสิงห์แล้วฟันรูปปั้นแทนแต่พันท้ายนรสิงห์ทัดทานว่าจะผิดพระราชประเพณี
                                     ภูมีปลอบกลับตั้ง               ขอบรร   ลัยพ่อ
                                 จำสั่งเพชฌฆาตฟัน                       ฟาดเกล้า
                                 โขนเรือกับหัวพัน                                       เซ่นที่  ศาลแล
                                 ศาลสืบกฤติคุณเค้า                       คติไว้ในสยาม
ถอดคำประพันธ์ :  สมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อได้ฟังเหตุผลของพันท้ายนรสิงห์เช่นนั้นจึง จำพระทัยรับสั่งให้เพชฌฆาตประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ แล้วนำโขนเรือกับศีรษะของพันท้ายนรสิงห์ ไปตั้งบวง สรวงไว้ที่ศาลเพียงตาเพื่อเป็นการประกาศคุณความดีของพันท้ายนรสิงห์ให้คนได้เห็นเป็นแบบอย่างต่อไป

ข้อคิดที่จากเรื่อง
          ๑.  มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ          ๒.  รู้จักเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องพระราชกำหนดให้คงอยู่ตลอดไป          ๓.  ปลูกจิตสำนึกให้เยาว์ชนไทยเห็นคุณค่าเสียสละของวีระชนไทย



วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ระดับภาษา

ระดับภาษา

ลักษณะภาษาในระดับต่างๆภาษาที่ใช้ในระดับต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
      ๑. ภาษาระดับพิธีการ ผู้ใช้ภาษาระดับพิธีการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่างๆ ผู้รับสารเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ ใช้การส่งสารผ่านสื่อสารมวลชน หรือในที่ประชุมชน ภาษาระดับนี้มีการเลือกถ้อยคำที่สุภาพสละสลวย สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับพิธีการ ได้แก่ คำกล่าวในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์ โอวาท ปาฐกถาคำกล่าวสดุดี คำไว้อาลัย คำกล่าวปราศรัย การแนะนำบุคคลสำคัญ บทร้อยกรองที่ต้องการจรรโลงใจให้ข้อคิด

      ๒. ภาษาระดับทาง การ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารในวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพเดียวกัน ผู้รับสารกับผู้ส่งสารมีความสัมพันธ์กันในด้านหน้าที่การงาน สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับทางการ ได้แก่ งานเขียนทางวิชาการสาขาต่างๆ งานเขียนในแวดวงอาชีพเดียวกัน เอกสารของราชการ เช่น รายงานการประชุม  จดหมายราชการ คำสั่งประกาศ การประชุมปรึกษาในวาระสำคัญ การเขียนข้อสอบอัตนัย การเป็นพิธีกรรายการที่มีสาระ


      ๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันวงการ วิชาการหรือวงการอาชีพ สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ ได้แก่ งานเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทบรรยายในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายกิจธุระ จดหมายธุรกิจ จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลซึ่งไม่คุ้นเคยกัน การประชุมภายในหน่วยงาน การพูดโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไป การเป็นพิธีกรรายการบันเทิง
      ๔. ภาษาระดับสนทนาหรือระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน ญาติ การเรียบเรียงภาษาไม่เคร่งครัดตามหลักไวยากรณ์มากนัก สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับสนทนา ได้แก่ การสนทนากับบุคคลทั่วไป บทสนทนาใน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน การรายงานข่าวชาวบ้านในรายการโทรทัศน์ การเขียนบันทึกส่วนตัว การเขียนบทความในหนังสือพิมพ์
      ๕. ภาษาระดับกันเองหรือระดับปาก ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก เป็นพิเศษ เช่น เพื่อนสนิท ลักษณะภาษาอาจมีคำไม่สุภาพปะปนอยู่บ้าง สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกันเอง เช่น การสนทนากับบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมาก การเขียนบทสนทนาในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร การเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกับเพื่อนสนิท การเขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์

ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษา
      ๑. โอกาสและสถานที่ เช่น ถ้าสื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่ในที่ประชุมก็จะใช้ภาษาระดับหนึ่ง ถ้าพูดกันในตลาดร้านค้าภาษาก็จะต่างระดับกันออกไป


      ๒. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น บุคคลที่ไม่เคยรู้จัก บุคคลที่เพิ่งรู้จัก บุคคล ที่เป็นเพื่อนสนิท เป็นปัจจัยให้ใช้ภาษาต่างระดับกัน แต่อย่างไรก็ตามต้องยึดหลักพิจารณาโอกาสและสถานที่ด้วย


      ๓. ลักษณะของเนื้อหา เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ไม่นำไปใช้กับภาษาแบบแผน หรือภาษาที่เป็นทางการ

      ๔. สื่อที่ใช้ในการส่งสาร เช่น จดหมายปิดผนึกกับไปรษณียบัตร ระดับภาษาที่ใช้ต้องตรงกัน เมื่อพูดด้วยปากกับพูดด้วยเครื่องขยายเสียงหรือพูดทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ ระดับภาษาที่ใช้ย่อมแตกต่างกัน

การโต้วาที

 การโต้วาที
     การโต้วาที เป็นการอภิปรายอย่างหนึ่ง โดยผู้อภิปรายใช้วาทศิลป์ของตน โน้มน้าวใจผู้ฟังคล้อยตามและใช้เหตุผลหักล้างเอาชนะฝ่ายตรงข้าม

องค์ประกอบของการโค้วาที
   ๑.ญัตติในการโต้วาที
   ๒.ผู้โต้วาที
   ๓.ประธานการโต้วาที หรือ ผู้ดำเนินการโต้วาที
   ๔.กรรมการ
   ๕.ผู้ฟัง
   ๖.ระเบียบวิธีการโต้วาทีี

๑.ญัตติในการโต้วาที ญัตติ คือ หัวข้อที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการโต้วาทีญัตติควรเป็นเรื่องที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม อยู่ในความสนใจของผู้ฟังที่ทั้งสองฝ่าย สามารถหาเหตุผลมาโต้แย้งกันหรือหักล้างกันได้เป็นเรื่องที่แสดงถึงสติปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ นอกจากนี้ญัตติควรมีความกะทัดรัดชัดเจน ไม่ควรตั้งเป็นคำถาม
ตัวอย่างญัตติที่น่าสนใจ
     ๑.วัฒนธรรมไทยศิวิไลซ์กว่าวัฒนธรรมตะวันตก
     ๒.เรียนเมืองไทยดีกว่าไปเรียนเมืองนอก
     ๓.ใช้เงินสดดีกว่าใช้เงินเครดิต
     ๔.เกษตรกรรมดีกว่าอุตสาหกรรม
     ๕.เรียนมหาวิทยาลัยเปิดดีกว่ามหาวิทยาลัยปิด

๒.ผู้โต้วาทีคือผู้ที่ทำการโต้วาที แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย  คือ ฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน ซึงมีหัวหน้า ๑ คน และโดยทั่วไป ผู้สนับสนุนอีกฝ่ายละ ๓ คน ดังนี้
                   ฝ่ายเสนอ                                                            ฝ่ายค้าน
         ๑)   หัวหน้าฝ่ายเสนอ                                            ๑)  หัวหน้าฝ่ายค้าน
         ๒)   ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ ๑                            ๒)  ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ ๑
         ๓)   ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ ๒                            ๓)  ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ ๒ 
         ๔)   ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ ๓                            ๔)  ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ ๓


ลักษณะของผู้โต้วาทีที่ดี
   ๑.มีความรอบรู้และมีประสบการณ์มาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความรู้ในญัตติดี 
   ๒.ผู้โต้วาทีจึงต้องค้นคว้าหาความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นที่จะโต้วาทีให้พร้อม
   ๓.มีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   ๔.มีวาทศิลป์และไหวพริบในการพูดโน้มน้าวใจผู้ฟังให้คล้อยตาม
   ๕.มีมารยาทในการพูด ไม่พูดเสียดสี ยกยอ หรือเอาเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นขึ้นมาพูด
   ๖.มีความรับผิดชอบในศีลธรรมและวัฒนธรรม ระมัดระวังการใช้ภาษาที่เหมาะสมสุภาพ
   ๗.คำนึงประโยชน์ของผู้ฟังไม่ควรพูดเล่นมากเกินไป ต้องให้สารประโยชน์แก่ผู้ฟังด้วย


แนวปฏิบัติของผู้โต้วาทีแต่ละฝ่าย  มีขั้นตอนดังนี้
หัวหน้าฝ่ายเสนอ
   - กล่าวทักทายผู้ฟัง
   - เสนอญัตติ
   - แปรญัตติหรือให้ความหมาย
   - ให้เหตุผลสนับสนุนญัตติดังกล่าว
   - อธิบายรายละเอียดข้อปลีกย่อย
   - ยกตัวอย่าง  อุทาหรณ์ คำกล่าว ฯลฯ  ประกอบการสนับสนุน
   - เน้นสรุปประเด็นสำคัญ
ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ
   - กล่าวทักทายผู้ฟัง
   - อธิบายสนับสนุนหัวหน้าฝ่ายเสนอ
   - อธิบายข้อเสนอด้วยการหาเหตุผลเพิ่มเติม
   - แย้งคู่โต้เป็นประเด็นๆ
   - เน้นสรุปประเด็นสำคัญ
หัวหน้าฝ่ายค้าน
   - กล่าวทักทายผู้ฟัง
   - พยายามชี้ให้เห็นข้อบกพร่องในการแปรญัตติและการให้เหตุผลของฝ่ายเสนอ
   - โต้แย้งประเด็น โดยยกเหตุผลประกอบ
   - ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงเพื่อหักล้างให้เห็นว่า ไม่เป็นไปตามญัตติ
   - เสนอแนะสิ่งที่ดีของฝ่ายตน
   - เน้นสรุปประเด็นสำคัญ             
ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน
   - กล่าวทักทายผู้ฟัง
   - หาเหตุผลข้อเท็จจริงสนับสนุนหัวหน้าฝ่ายค้าน
   - พูดโต้แย้งข้อเสนอของผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ
   - นำสถิติ คำคม ข้อเท็จจริงมายืนยัน
   - เน้นสรุปประเด็นสำคัญ


 
๓. ประธานการโต้วาที หรือ ผู้ดำเนินการโตวาที มีหน้าที่เป็นพิธีกรและดำเนินการโต้วาทีให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่กำหนด
คุณสมบัติของประธานการโต้วาที หรือผู้ดำเนินการโต้วาที  มีดังนี้
   ๑.มีวาทศิลป์และปฏิภาณไหวพริบดี
   ๒.ความรอบรู้เข้าใจญัตติและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้โต้
   ๓.มองโลกในแง่ดี มีจิตวิทยา รู้จักสร้างบรรยากาศ ด้วยอารมณ์ขัน
   ๔.มีความรู้และเข้าใจระเบียบแบบแผนการโต้วาที
   ๕.วางตัวเป็นกลางไม่แสดงความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด

หน้าที่ของประธานการโต้วาที หรือผู้ดำเนินการโต้วาที
   1. กล่าวเปิดการโต้วาที แจ้งญัตติที่จะโต้วาทีให้ผู้ฟังได้ทราบ
   2. กล่าวแนะนำผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย  โดยเริ่มจากหัวหน้าฝ่ายเสนอผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอทุกคน แล้วจึงแนะนำหัวหน้าฝ่ายค้าน
โดยสนับสนุนฝ่ายค้านทุกคน   โดยกล่าวแนะนำ ให้ผู้ฟังได้ทราบว่าผู้โต้ว่าทีทั้งสองฝ่ายเป็นใครมีความสามารถเกี่ยวกับการพูดในญัตตินั้น ๆ อย่างไรและแนะนำกรรมการผู้ตัดสินด้วย
   3. ชี้แจงเกี่ยวกับญัตติการโต้วาที   ในลักษณะเกริ่นให้ทราบ และกำหนดเวลาในการพูด ของการ โต้  วาทีแต่ละคน
   4. เชิญให้ผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่ายขึ้นมาพูดเรียงลำดับดังนี้   หัวหน้าฝ่ายเสนอหัวหน้าฝ่ายค้าน 
ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่  ๑    ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่  ๑   ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่  ๒ 
ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่  ๒  สลับกันไปจนครบทุกคน    แล้วจึงเชิญหัวหน้าของทั้งสองฝ่าย
ขึ้นมากล่าวอีกครั้งหนึ่ง   ในการกล่าวสรุปนี้   หัวหน้าฝ่ายค้านจะเป็นผู้สรุปก่อนหัวหน้าฝ่ายเสนอ
   5. เมื่อหัวหน้าทั้งสองฝ่ายกล่าวสรุปแล้วประธานเป็นผู้ประกาศผลของการโต้วาทีโดยฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ  และแจ้งให้ผู้โต้วาทีและผู้ฟังทราบ   แล้วกล่าวขอบคุณผู้ร่วมโต้วาทีทุกคน

๔.  กรรมการ    การโต้วาทีเป็นการพูดเพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน  จึงต้องมีกรรมการทำหน้าที่ตัดสินกรรมการควรเป็นบุคคลที่มีความรู้เรื่องวาทศิลป์และเป็นผู้มีความรู้ในญัตติและกระบวนการโต้วาที เป็นอย่างดี นอกจากนี้กรรมการจะต้องไม่มีอคติต่อผู้โต้วาทีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง   ส่วนมากในการโต้วาทีแต่ละครั้งจะใช้กรรมการ  ๓  หรือ  ๕  คน

๕.   ผู้ฟัง  คือผู้ที่เข้าร่วมฟังการโต้วาที ซึ่งมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
     ๑.  มีมารยาทในการฟัง เช่น ปรบมือให้เกียรติ หัวเราะอย่างสุภาพ ไม่พูดคุย หรือ แสดงกิริยาไม่เหมาะสม ฯลฯ
     ๒.  ฟังด้วยความสนใจและติดตาม 
     ๓.  สังเกตการณ์พูด การใช้ภาษา ท่าทางของผู้โต้ เพื่อนำไปใช้กับการพูดของตนเอง

๖.  ระเบียบและวิธีการโต้วาที    ได้แก่   กระบวน    การกำหนดเวลา     การจัดสถานที่   และ       การตัดสินใจ


กระบวนการการโต้วาที  มีดังนี้
     - ประธานหรือผู้ดำเนินการโต้วาทีกล่าวอรัมภบท  แนะนำผู้โต้วาที  และเชิญผู้โต้แต่ละคนออกมาพูด
     - หัวหน้าฝ่ายเสนอขึ้นมาพูดก่อน และหัวหน้าฝ่ายค้านพูดเป็นคนที่สอง โดยใช้เวลาเท่าๆกัน
     - ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ และฝ่ายค้านขึ้นมาพูดสลับกัน ฝ่ายละคนตามลำดับจนครบ
     - หัวหน้าฝ่ายค้านกล่าวสรุปก่อน แล้วหัวหน้าฝ่ายเสนอสรุปเป็นคนสุดท้ายผู้ดำเนินการกล่าวอีกครั้ง แจ้งผลการตัดสินและกล่าวปิดการโต้วาที
 
วาทศิลป์   คือ   ศิลปะในการใช้วาทะ พูดจาให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างมีอรรถรส ได้ทั้งข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นคำคม มีแง่มุมชวนหัวชวนฮา  มีศิลปะในการใช้ภาษาที่ชักจูงให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม เห็นดีเห็นงามไปกับข้อคิดเห็น ข้อมูลต่างๆ ที่เสนอไป

มารยาท  คือ  การกระทำที่ไม่ทำให้ผู้ใดรู้สึกอึดอัดใจ รังเกียจ เกลียดชัง  หรือพูดจาก้าวร้าว  ล่วงเกินต่อกัน การโต้วาทีในเรื่องของมารยาทมีข้อห้าม ไว้ดังนี้
     1. อย่าอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์  หรือลัทธิความเชื่อบางอย่าง
     2. อย่าใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ไม่สุภาพ
     3. อย่านำเอาเรื่องส่วนตัว ของฝ่ายตรงข้ามมาพูด เว้นแต่เรื่องที่ดี
     4. อย่าแสดงอาการที่ไม่พอใจฝ่ายตรงข้าม  ต้องมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงความเป็นมิตรต่อฝ่ายตรงข้ามและผู้ฝังเสมอ
     5. อย่าออกชื่อจริงของผู้โต้วาที ควรบอกชื่อตำแหน่งขณะโต้วาทีเท่านั้น เช่น หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้านผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ ๑ ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ ๒
     6. อย่าพูดเกินเวลาที่กำหนดให้

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประโยคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น             ประโยคที่ซับซ้อน คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายควา...